รถขนส่งสินค้า กับบทบาทพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

รถขนส่งสินค้า และผลประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

รถขนส่งสินค้า ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าที่คุณคิด เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบันแนวโน้มทางการแข่งขันในตลาดโลกทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับประเทศ ต่างๆ ในอาเซียนมีการปรับตัวสำหรับการเปิดการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบ ในปีที่ผ่านมาซึ่งจะทำให้การ ค้าขาย การลงทุน การขนส่ง และการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น แต่การเปิดการค้าเสรีในภูมิภาคอาเซียน ย่อมส่ง ผลต่อรายได้ของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคอาเซียน ดังนั้น ระบบการขนส่งจะยิ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐ และภาคเอกชนของประเทศไทย ต้องพิจารณาศักยภาพการบริการ ขนส่งสินค้า ของตนเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งของไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ในการดำเนินธุรกิจ การขนส่งนั้นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดในกระบวนการโลจิสติกส์ หรืออาจคิดเป็นร้อยละ 40 ของต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์ ทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ประกอบการ รถรับจ้างขนส่งสินค้า สามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการมากขึ้นซึ่งหน่วยงานภาครัฐเองได้พยายามพัฒนาระบบการขนส่งให้ดีขึ้นแต่เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการจึงทำให้ การพัฒนานั้นล่าช้า และไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก และพบว่าประเด็นปัญหาที่สำคัญของการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย คือ โครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม ที่ยังขาดการเชื่อมโยง กฎระเบียบต่างๆ ยังไม่เอื้ออำนวยต่อความสะดวกทางการค้า ผู้ประกอบการ บริษัทขนส่งสินค้า ของไทยยังขาดการพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขัน และประเทศไทยยังขาดการบูรณาการเชิงนโยบายระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพราะการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศไทยถึงแม้จะมีนโยบายในการขับเคลื่อนแต่สิ่งสำคัญคือ ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ทั้งภาค รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคธุรกิจต้องมีส่วนร่วมในการ วางแผนเพื่อให้การพัฒนาระบบขนส่งจากนี้ไปเป็นรูปธรรมและเกิด ผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างชัดเจน

รถขนส่งสินค้า ปัจจับสำคัญในการพัฒนา
รถขนส่งสินค้า กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

จากสถิติการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศ และการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่า ในการขนส่งสินค้า ของผู้ประกอบการไทยยังสามารถลดต้นทุนได้จากการเปลี่ยนรูป แบบการขนส่งที่ เหมาะสม แต่ถึงแม้ผู้ประกอบการจะพยายามเพียง ใดก็คงไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ เพราะเรื่องของการพัฒนาระบบ การขนส่งไทยต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐในวางแผน กำหนด นโยบายที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การลงทุนและการปฏิบัติอย่างบูรณาการ และต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุด แต่วันนี้การ พัฒนาระบบขนส่งไทยยังไม่สามารถเดินหน้าไปไหนได้ ก็เป็น เพราะเหตุผลหลายประการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด หรือ อาจมีนโยบายในการพัฒนาในบางส่วน แต่ก็ขาดการปฏิบัติอย่าง จริงจัง ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงต่อไป

ซึ่งหากประเทศไทยมีการพัฒนาระบบขนส่งที่ดี ย่อมส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย สามารถขนส่งหรือกระจายสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่าง ประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมี ต้นทุนด้านการขนส่งต่ำลง รวมทั้งการควบคุมคุณภาพของสินค้า ให้ดี จนกระทั่งมี การส่งมอบถึงมือผู้บริโภค ด้วยเหตุ นี้ การลดต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งพัฒนารูปแบบการขนส่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากถนน ให้มี ศักยภาพ ทั้งในด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้รูปแบบการขนส่ง อื่น ที่สำคัญการวางแผนและดำเนินการ พัฒนาระบบขนส่งของ ประเทศไทยนั้นต้องทำอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าแนวโน้มธุรกิจ บริษัทรับจ้างขนส่งสินค้า ทางถนนในระยะปีถัดไปคาดว่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้นโดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากการเติบโตภาคการค้าทั้งการค้าชายแดนและการค้าการลงทุนจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆอาทิการเบิกจ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมรวมถึงต้นทุนน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงจะทำให้ความฝัน ความหวังที่ประเทศไทยจะมีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเป็นจริงได้ มิใช่ ฝันที่เลื่อนลอยอย่างที่เป็นมา

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)