การบริหารต้นทุนของบริษัทขนส่งสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง

การบริการการจัดการในธุรกิจบริษัทขนส่งสินค้าเป็นปัจจัยที่เอื้อผลสำคัญต่อรายได้ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลดต้นทุน การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มีเทคนิคและหลักการในหลายประเด็นที่นำมาซึ่งการสร้างปรัชญาทางการบริหารที่ ประสบความสำเร็จในธุรกิจ เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการจึงต้องแสวงหาซึ่งความรู้ใหม่ และเรียนรู้ในการจะนำหลักการบริหารที่ดีมาพัฒนากิจการให้มากที่สุด

ศาสตร์การจัดการในธุรกิจขนส่งเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงระบบการ บริหารจัดการในธุรกิจ เรื่องของต้นทุนที่เกิดจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel cost) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจัดได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมากเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าท่านทราบถึงสาเหตุของการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ลดลงได้อย่างมากด้วย

น้ำมันเชื้อเพลิงให้กำลังงานได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงจากน้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นพลังงานกลโดยจะเห็นได้ว่าน้ำมันทั้งหมดจะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานและการสูญเสียที่ส่วนต่าง ๆรวมกัน ซึ่งสัดส่วนของพลังงานที่ได้ออกมาจริงๆจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์

ต้นเหตุของการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงต้นเหตุของการสิ้นเปลืองแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้คือ 1. ข้อมูลทางเทคนิคที่ควบคุมได้, 2. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ , 3. สภาวะแวดล้อมภายนอก ,4. วิธีการขับขี่

ข้อมูลทางเทคนิคที่ควบคุมได้ ข้อมูลทางเทคนิคนี้เป็นส่วนที่สามารถควบคุมให้อยู่ในสภาวะที่ถูกต้องและเหมาะสมได้ โดยสามารถแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ได้แก่ น้ำหนักบรรทุกและความสูง, การขับเคลื่อน, จำนวนยางและเพลา, แรงต้านอากาศ

น้ำหนักบรรทุกและความสูงที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจากน้ำหนักบรรทุกปกติจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.05-0.06 ลิตร/กม. ทุก ๆ 10 ตัน ในขณะที่ความสูงเกิน 3.6 เมตร จะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.01 ลิตร/กม. ในทุก ๆ ความสูง 15 ซม.

– การเลือกใช้รถขนส่งสินค้าให้เหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุก ผู้ประกอบการบริษัทขนส่งสินค้าควรเลือกใช้กำลังปริมาณ 10 – 12 แรงม้า/ตัน ยกตัวอย่าง เช่น

  • ถ้าต้องการน้ำหนักบรรทุกรวม 12 ตัน ควรใช้รถขนาด 10×12 = 120 แรงม้า ถึง 12×12 = 144 แรงม้า
  • ถ้าต้องการน้ำหนักบรรทุกรวม 21 ตัน ควรใช้รถขนาด 10×21 = 210 แรงม้า ถึง 12×21 = 252 แรงม้า
รสภาพทางกายภาพของรถบรรทุก
สภาพทางกายภาพของรถบรรทุก

 

– การเลือกใช้รถพ่วงและรถลากจูงให้เหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุกสำหรับรถพ่วง และรถลากจูงควรเลือกใช้กำลังประมาณ 8-10 แรงม้า/ตัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการน้ำหนักบรรทุกรวม 37.4 ตัน ควรใช้รถขนาด 8×37.4 = 299 แรงม้า ถึง 10×37.4 = 374 แรงม้า จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้กำลังของเครื่องยนต์ที่สูงมิได้ทำให้สิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ที่มีกำลังต่ำเสมอไป แต่สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้รถขนส่งสินค้านั้นควรจะต้องพิจารณากำลังของ เครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ด้วย

– จำนวนยางและเพลา – ยางเพลาเพิ่มขึ้น 4 เส้น จะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.05 ลิตร/กม.

– เพลาเพิ่มขึ้น 1 เพลา จะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.01 ลิตร/กม. – การขนานกันของเพลาคู่ท้าย เพลาคู่ท้ายที่ไม่ขนานกันนั้นส่งผลทำให้การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.01 ลิตร/กม.

แรงดันลมยาง แรงดันลมยางที่น้อยเกินไปจะทำให้หน้ายางสัมผัสผิวถนนมากเกินไปซึ่งจะเพิ่ม แรงต้านทานการหมุนของล้อ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น แรงดันลมยางที่ต่ำกว่าปกติ 0.81 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น 0.01ลิตร/กม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงต้านทานการหมุนและแรงดันลมยาง เมื่อแรงดันลมยางลดลงจากตำแหน่งที่เหมาะสมจะทำให้แรงต้านทานการหนุนเพิ่ม ขึ้น

– แรงต้านอากาศ แรงต้านของอากาศ แรงต้านของอากาศจะต้านการเคลื่อนที่ของรถทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นสูงสุด 0.20 ลิตร/กม. แต่เราสามารถที่จะลดแรงต้านของอากาศให้ต่ำลงได้โดยติดตั้งอุปกรณ์ดักลม

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ภายในเครื่องยนต์มีระบบต่าง ๆ ที่ต้องบำรุงรักษามากมาย อาทิเช่น ระบบเชื้อเพลิง, ระบบบรรจุอากาศ, ระบบหล่อเย็น, ระบบหล่อลื่น การปล่อยให้เครื่องยนต์อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.19 ลิตร/กม.

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์

ภาวะแวดล้อมภายนอก สภาวะแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ทางลาดชัน และสภาพการจราจรเป็นต้น

– การขึ้นทางลาดชัน ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.03 ลิตร/กม.

– สภาพการจราจรที่ติดขัดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเช่นกัน

แม้สภาวะแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็ตามแต่ ก็สามารถเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อหลักเลี่ยงสภาวะที่ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงได้

ยาง (Tire costs) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยางก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การประกอบการขนส่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงประมาณ 7.9% สาเหตุการสึกหรอของยางที่ผิดปกติ (Reasons abnormal tire wear) สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วยเรื่องของ มุมล้อ , ความดันลมยาง, ชนิดของยาง, น้ำหนักบรรทุก, สภาพพื้นผิวถนน, วิธีการขับขี่

การดูแลรักษายางรถขนส่งสินค้า
การดูแลรักษายางรถขนส่งสินค้า

มุมล้อ (Wheel alignment) เมื่อยางสัมผัสกับถนนจะมีการสึกหรอเกิดขึ้นและยังส่งผลต่อการควบคุมตัวรถ การออกแบบจะต้องทำให้การสึกหรอของยางน้อยที่สุด และขณะเดียวกันการควบคุมรถต้องมีประสิทธิภาพ

แรงดันลมยาง (Tire pressure) แรงดันลมมีผลกระทบต่อการสึกหรอของยางอย่างสูง แรงดันลมยางน้อยเกินไปมีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของยางลดลง, เพิ่มแรงต้านทานหมุนล้อ แรงดันลมมากเกินไปมีผลกระทบต่อยางคือ, มีเสียงดังและไม่สะดวกสบายเมื่อขับขี่, การเกาะถนนลดลง, การสึกหรอของยางสูงเนื่องจากการลื่นไถล

ยาง (Tire) ยางทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวรถ, ส่งถ่ายกำลังงานจากเครื่องยนต์ไปยังพื้นผิวถนนเพื่อขับเคลื่อน, ส่งถ่ายแรงเบรคเพื่อหยุดรถ, ส่งถ่ายแรงบังคับเลี้ยวเพื่อการควบคุมรถ, เกาะถนนในทุกสภาพผิวถนน

ยางชนิด เรเดียล (Radial type) และผ้าใบ (Cross-ply type) คุณสมบัติโดยรวมของยางชนิดนี้ค่อนข้างจะทนทานต่อการสึกหรอ, เกิดความร้อนสะสมน้อย, การทรงตัวที่ความเร็วสูงประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง, ประสิทธิภาพการหยุดรถสูงเหมาะกับการใช้งานที่ความเร็วสูง และสภาพถนนดี, การสึกหรอสูง, เกิดความร้อนสะสมมากกว่า, สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง, เหมาะกับการใช้งานที่ความเร็วต่ำและถนนขรุขระ

วิธีการควบคุมค่ายาง ต้นทุนในเรื่องของยาง ผู้ประกอบการบริษัทขนส่งสินค้าต่างๆสามารถที่จะดำเนินการในการสร้างความประหยัด ประหยัดต้นทุนในด้านนี้ได้ด้วย การสำรวจเส้นทางและกำหนดเส้นทางการเดินรถ, จัดระบบการขับขี่, ควบคุมน้ำหนักบรรทุก, จัดทำแผนระบบการบำรุงรักษา

ค่าซ่อม (Repairting costs) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าซ่อม และบำรุงรักษาเป็นอีกค่าใช้จ่ายหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการประกอบการบริษัทขนส่งสินค้าสูงขึ้น ประมาณ 8.9% ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด ซึ่งสามารถทำให้ลดลงได้ โดยต้นเหตุของการเสียหายของรถ มาจากเรื่องของวิธีการใช้รถ

การบำรุงรักษา, การเลือกใช้อะไหล่

การบำรุงรักษารถขนส่งสินค้า
การบำรุงรักษารถขนส่งสินค้า

– วิธีการใช้รถบรรทุก การใช้ความเร็วรอบไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง, เกียร์ สภาพถนน และการจราจร

– ขาดความรู้ความเข้าใจ ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนต่อในเรื่องการลดหรือเพิ่มของค่าซ่อม

– การดูแลบำรุงรักษา ในส่วนนี้จะมีเรื่องของชนิดการบำรุงรักษา, การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน, การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข, การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุง ทั้งนี้เกณฑ์การบำรุงรักษา อาจมีการกำหนดเป็นตาราง เช่น ประจำวัน, ประจำ 3 เดือน, ประจำปี คำถามคือว่า ความถี่ในการบำรุงรักษาควรจะเป็นอย่างไรหาก ครั้งต่อปีมากเกินไป, ครั้งต่อปีพอดี, ครั้งต่อปีน้อยเกินไป เหล่านี้เราควรจัดทำบันทึกของการบำรุงรักษาเพื่อติดตามผลของการบำรุงรักษาในเชิงป้องกันให้เหมาะสม โดยทดลองเพิ่มรอบการบำรุงรักษากรณีที่มีปัญหาการเสียหาย หรือลดและยืดระยะเวลาในตารางซ่อมบำรุงในหัวข้อที่ไม่จำเป็นเป็นต้น

– การเลือกใช้อะไหล่ แนวความคิดเกี่ยวกับอะไหล่แท้ เป็นผลในเรื่องที่เจ้าของรถบรรทุกและบริษัทพยายามให้รถใช้งานได้อย่างต่อ เนื่องโดยไม่มีวันจอดเสีย ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการเลือกใช้อะไหล่ที่มีคุณภาพ หรือจากอะไหล่แท้จะมีผลต่อความคุ้มค่าจากหลาย ๆ ปัจจัย

ในส่วนของบริษัทฯ ผู้ผลิตจะมีความรับผิดชอบทุก ๆ ด้านสำหรับรถบรรทุกและบริการหลังการขายในการที่จะสร้างและรักษาความสัมพันธ์ ทางธุรกิจระยะยาวกับผู้ใช้รถ ส่วนผู้ผลิตแล้วอะไหล่แท้ยังมีส่วนในการรักษาคุณภาพและชื่อเสียงให้แก่รถอีก ด้วย

อะไหล่ที่ถูกใช้บ่อย ๆ อย่างเดียวไม่สามารถที่จะสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ อาจจะมีบางครั้งที่ลูกค้าเหล่านั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ไม่ค่อยจะ เสียหาย บางที่อาจเกิดกับรถที่มีอายุเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้นในระบบอะไหล่แท้จำเป็นต้องมีทั้งอะไหล่ที่ใช้บ่อยครั้ง เก็บไว้ในคลังอะไหล่ของบริษัทฯ ผู้ผลิตตลอดเวลา

บริษัทฯ ผู้ผลิตมีการควบคุมคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกด้าน รวมทั้งการควบคุมอะไหล่ด้วย ผู้ผลิตมีความสามารถเฉพาะตัวในการติดตามด้านคุณภาพ เพราะว่าผู้ผลิตได้เกี่ยวข้องในทุก ๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตไปจนถึงการบริการที่ศูนย์บริการ ประสบการณ์ที่ได้รับได้ถูกถ่ายทอดให้กับวิศวกรของบริษัทฯ ไม่มีผู้ผลิตอะไหล่เทียมรายใดจะมีข้อได้เปรียบเช่นนี้

การใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย

ทำไมต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย ปัจจัยส่งผลสำคัญในประเด็นนี้เริ่มตั้งแต่ความปลอดภัยกับทุกฝ่ายคือ ลูกค้า, ประชาชนทั่วไป และพนักงานบริษัท เกิดความมั่นคงทางธุรกิจ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย

ที่ผ่านมาความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุในแต่ละปีมีจำนวนมาก ความสูญเสียที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

– ความสูญเสียทางตรง จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในค่ารักษาพยาบาล, ค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายเพิ่ม, ค่าซ่อมรถที่นอกเหนือจากจำนวนที่ประกันไว้

– ความสูญเสียทางอ้อม เกิดผลกระทบในเรื่องของ ค่าเสื่อมของรถ, ค่าล่วงเวลาทำงานแทนพนักงานที่บาดเจ็บ, ค่าเช่ารถทดแทนที่อุบัติเหตุ, ขวัญกำลังใจและภาพพจน์ของบริษัท, ค่าเสียเวลา/ค่าใช้จ่ายในการสอบสวน

เนื้อหาทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบใช้เป็นประเด็นกำหนดในการวางแผน การบริหารจัดการทั้งระบบให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจบริษัทขนส่งสินค้าและใช้รถขนส่งสินค้า หรือรถรับจ้างขนส่งสินค้าเพื่อให้สามารถดำเนินการขนส่งได้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด

 

Please follow and like us:

Write a Reply or Comment

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)