บริษัทขนส่งสินค้า ในภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง

บริษัทขนส่งสินค้า กับความร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งสินค้า

บริษัทขนส่งสินค้า ในประเทศไทยในปัจจุบันจำต้องอยู่ในภาวะการแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้นในด้านการค้าและการบริการ ดั้งนั้นการปรับปรุงการดำเนินงานทางด้านธุรกิจ ในทุกๆด้าน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มระดับการให้บริการและเพิ่มโอกาสทางการขายให้กับธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การพัฒนาระบบการขนส่งให้มีประสิทธิภาพถือเป็นกลไกที่สำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาการขนส่งในปัจจุบันจะเน้นไปที่ขนส่งให้ทันตามเวลาที่กำหนดและ การลดเวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้า เป็นตัวที่ชี้วัดประสิทธิภาพในการขนส่งของทั้งผู้ว่าจ้างขนส่ง และผู้ให้บริการขนส่งและขณะเดียวกัน ลูกค้าเองก็สั่งสินค้าบ่อยขึ้นและมีปริมาณสินค้าที่สั่งลดลงเพื่อต้องการจะลดต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลัง ทำให้เกิดการขนส่งแบบไม่เต็มคันในแต่ละเที่ยวมากขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ให้บริการขนส่ง ในการบริหารงานมีความยุ่งยากมากขึ้น และทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งกระทบต่อต้นทุนผู้ว่าจ้างขนส่งด้วยเช่นกัน ดังนั้นการหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพที่มีความเหมาะสมและได้ประโยชน์ร่วมกันในทุกๆฝ่ายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น การทำงานในปัจจุบันหลายๆประเทศได้ มีการนำแนวคิดความร่วมมือมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพระบบขนส่งเพราะว่าเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและเป็นการพัฒนาระบบขนส่งอย่างยั่งยืน และในประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจกับการนำแนวคิดความร่วมมือในการขนส่งสินค้ามาใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งด้วยเช่นกัน แต่การพัฒนาความร่วมมือนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะหลายๆองค์กรในประเทศไทยยัง ยึดติดกับแนวคิดและขั้นตอนทำงานแบบเดิมๆที่ปฏิบัติมาในอดีตมีลักษณะการทำงานโดยลำพังไม่มีการท างานร่วมกับอื่นทำให้การพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยแนวคิดความร่วมมือยังไม่ประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวคิดความร่วมมือในการขนส่งสินค้ามาใช้ให้การพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งในปัจจุบัน จากการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาความร่วมมือของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและจากการศึกษาความร่วมมือในการขนส่งสินค้าของบริษัทผู้ว่าจ้าง ซึ่งผลที่ได้คือกลุ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ให้บริการขนส่งยังไม่ประสบความสำเร็จอาจเท่าที่ควรอาจเป็นเพราะโดยพื้นฐานของกลุ่มนี้เป็นบริษัทที่เป็นคู่แข่งกัน ส่วนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัทผู้ว่าจ้างนั้นมีประสบความสำเร็จบางส่วน เป็นกลุ่มบริษัทผู้ว่าจ้างที่เป็นคู่ค้ากันส่วนบริษัทที่เป็นคู่แข่งนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และจากการมุ่งเน้นศึกษาความร่วมมือระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ให้บริการขนส่งเพราะความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองบริษัทมีลักษณะเป็นคู่ค้าซึ่งมีโอกาสในการหาแนวทางพัฒนาความร่วมมือและนำผลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ได้จริงแล้วประสบความสำเร็จ รวมไปถึงสามารถขยายผลไปสู้การพัฒนาความร่วมมือในการขนส่งสินค้ากับองค์กรอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันอีกด้วย

บริษัทขนส่งสินค้า ในภาวการแข่งขันรุนแรง การลดต้นทุนคือหัวใจสำคัญ
บริษัทขนส่งสินค้า ในภาวะการแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรง การปรับปรุงในทุกๆด้าน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรก

บริษัทขนส่งสินค้า ที่ทำงานร่วมกันในโซ่อุปทาน เป็นการสร้างบทบาทใหม่สำหรับการจัดการโซ่อุปทาน ความหมายของการทำงานร่วมกันในโซ่อุปทาน คือตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปร่วมกันวางแผนและดำเนินงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จที่ยิ่งมากกว่าดำเนินการเองโดยลำพังการทำงานร่วมกันคือการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบริษัทที่มีความอิสระต่อกันแต่บริษัทมีความเกี่ยวข้องกันในการใช้ทรัพยากรและความสามารถร่วมกันเพื่อการตอบสนองลูกค้าตามเป้าหมายของการทำงานร่วมกันระดับความสัมพันธ์ของการทำงานร่วมกัน เป็นคุณลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นความสัมพันธ์นั้นมีพื้นฐานจากการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารการเปิดเผยและซื่อสัตย์ต่อกัน ความร่วมมือและการวางแผนการแบ่งปันผลกำไรและความเสี่ยงร่วมกันและสุดท้ายคือการมีเป้าหมายหรือกลยุทธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากการแบ่งระดับความร่วมมือออกเป็น แบบผิวเผิน ซึ่งเป็น ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เกิดขึ้นผ่านตลาดราคาเป็นรากฐานที่สำคัญในการตัดสินใจสั่งซื้อหรือเรียกว่าแบบแขน ต่อมาเป็นความสัมพันธ์ในระดับการปฏิบัติงานร่วมกัน จะเป็นการจัดซื้อจัดหาจากผู้จัดส่งวัตถุดิบน้อยรายโดยจะมีสัญญาซื้อขายในระยะยาวความสัมพันธ์ระดับนี้จะเป็นลักษณะระหว่างหน่วยงานจัดซื้อของผู้ว่าจ้างขนส่งกับลูกค้าความสัมพันธ์ระดับประสานงานร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ที่ต้องใช้ระยะเวลายาวในการทำงานให้ประสบความสำเร็จเนื่องจากต้องมีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างบริษัทสุดท้าย ความสัมพันธ์ระดับการทำงานร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ในระยะยาวที่มีการวางแผนร่วมกันใช้เทคโนโลยีร่วมกันเหมือนเป็นบริษัทเดียวกันไม่ซับซ้อนและง่ายในการพิจารณาความร่วมมือในการบริหารงานขนส่งสินค้า รวมถึงการได้ประยุกต์ และนำเสนอการทำงานรูปแบบใหม่โดยการร่วมมือกันบริหารการจัดส่งสินค้า โดยมีการนำแนวคิดของการประสานความร่วมมือในการวางแผนการพยากรณ์สินค้า และการเติมเต็มสินค้า เกิดการร่วมมือกันบริหารการจัดส่งสินค้าที่เกี่ยงข้องกับข้อมูล และระบบการเคลื่อนไหวที่ผู้ผลิตสินค้า และผู้ซื้อสินค้าร่วมมือกับผู้ให้บริการขนส่ง เพื่อการดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยการขจัดกระบวนการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพจากระบบการให้บริการขนส่งสินค้าคือ การลดเวลารอคอย การรับขนส่งอย่างเต็มประสิทธิภาพของยานพาหนะ การลดการวิ่งเที่ยวเปล่าในขากลับ ลดการเกิดความผิดพลาดในการขนส่งที่คาดไม่ถึง การลดความผิดพลาดในการวางบิลและการสื่อสารที่ผิดพลาด โดยมุ่งประสานความร่วมมือในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ(ลูกค้า)ผู้ขาย(ผู้ว่าจ้าง บริษัทขนส่งสินค้า ) ผู้ให้บริการ ขนส่งสินค้า และผู้ให้บริการ รถรับจ้าง จากภายนอก เพื่อปรับปรุงการบริการประสิทธิภาพ และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า และกระบวนการจัดส่ง

 

สำหรับแนวทางความร่วมมือในการขนส่งสินค้า มีผู้ให้ความสนใจศึกษากันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เนื่องด้วยความร่วมมือในการขนส่งสินค้าเป็นวิธีการที่พัฒนาประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้าและเพิ่มผลประโยชน์ในระยะยาว และในประเทศไทย จะสังเกตเห็นว่าแนวคิดความร่วมมือในการขนส่งสินค้าในประเทศไทยเริ่มมีการให้ความสนใจมากขึ้น การศึกษาส่วนใหญ่จะเน้นการศึกษาปัจจัย ปัญหา และความพร้อมในความร่วมมือโดยสำรวจกลุ่มผู้ให้บริการขนส่ง ด้วยการสัมภาษณ์ และเก็บแบบสอบถาม ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือคือ การแบ่งผลประโยชน์ การลงทุน และระบบการทำงานร่วมกัน ส่วนปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ความเชื่อใจ วิธีการดำเนินงาน และบุคลากรนอกเหนือจากงานวิจัยเชิงสำรวจ มีการศึกษาความร่วมมือในการขนส่งสินค้าด้วยการศึกษาเป็นกรณีศึกษาการศึกษารูปแบบการขนส่งแบบความร่วมมือระหว่างเจ้าของสินค้าโดยไม่ผ่านตัวกลาง กรณีศึกษาความร่วมมือระหว่างบริษัทน้ำตาล และบริษัทค้าปลีกสมัยใหม่ การศึกษาของบริษัทน้ำตาลและบริษัทร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ในการศึกษานี้นำแนวคิดความร่วมมือมาใช้ในการพัฒนากระบวนการมาตรฐานในการขนส่งสินค้าแบบความร่วมมือระหว่างเจ้าของสินค้าอันเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาด้านโซ่อุปทานระหว่างคู่ค้าโดยการทดลองเก็บข้อมูลจริงจากกระบวนการทำงานที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 3เดือน คือ การใช้รถขนส่งของบริษัทค้าปลีกที่ขนส่งสินค้าระหว่างศูนย์กระจายสินค้า เพื่อรับน้ำตาลหลังจากส่งสินค้าที่ร้านสาขาและนำน้ำตาลกลับไปยังศูนย์กระจายสินค้าแทนการส่งตรงจากโรงงานผู้ผลิตน้ำตาลไปยังร้านสาขาของผู้ค้าปลีก

กระบวนการมาตรฐานสำหรับการขนส่งในรูปแบบความร่วมมือระหว่างเจ้าของสินค้าที่พัฒนาขึ้นนั้น ลดเวลาเฉลี่ยของเวลารวมในการเข้ารับสินค้าลงเหลือต่ำกว่า 3ชั่วโมง โดยลดจำนวนรถที่ใช้เวลาเกิน3 ชั่วโมงในการรับสินค้าลง20%และลดต้นทุนการขนส่งได้ถึง 65%ซึ่งการขนส่งสินค้าระหว่างโรงงานน้ำตาล และศูนย์กระจายสินค้าด้วยรูปแบบความร่วมมือระหว่างเจ้าของสินค้านั้น ทำให้ต้นทุนรวมในการกระจายสินค้าผ่านศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในระดับที่สามารถบริหารให้เกิดการกระจายสินค้าผ่านช่องทางนี้ได้อย่างยั่งยืน

 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการทำงานจริงในการขนส่งสินค้าระหว่างบริษัทผู้ว่าจ้างซึ่งระดับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 บริษัทอยู่ในระดับ cooperation ยังไม่ถึงกับการท างานร่วมกัน ส่งผลให้ทั้ง 2 บริษัทมีการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพในการขนส่งได้แก่ ความล่าช้าในการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัท การใช้ทรัพยากรที่ไม่มีเต็มประสิทธิภาพและความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินงาน เช่น ส่งสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ความผิดพลาดในการส่งสินค้า ความยุ่งยากในการบริหารงานขนส่ง ทำให้ทั้ง 2 บริษัทมีต้นทุนในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการให้บริการลดลง และใช้ทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานเหล่านี้เกิดขึ้นจากหลายๆสาเหตุในการดำเนินงาน การดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัท การใช้ทรัพยากรที่ไม่มีเต็มประสิทธิภาพและความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินงาน เช่น ส่งสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ความผิดพลาดในส่งสินค้า ความยุ่งยากในการบริหารงานขนส่ง ทำให้ทั้ง 2 บริษัทมีต้นทุนในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการให้บริการลดลง และใช้ทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานเหล่านี้เกิดขึ้นจากหลายๆสาเหตุในการดำเนินงานในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยเทคนิคผังรากไม้หรือผังต้นไม้  มาช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะหาแนวทางในการลดหรือกำจัดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานด้วยแนวคิดความร่วมมือในการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมกับทั้ง 2 องค์กร บริษัทกรณีศึกษา

การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในการขนส่งสินค้าระหว่างทั้ง 2 บริษัทจากการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้

  1. มีความล่าช้าในการดำเนินงาน

-บริษัทผู้ว่าจ้างขนส่งขึ้นสินค้าช้า 12 เที่ยวคิดเป็น 13.18 % ของจำนวนเที่ยวทั้งหมด เกิดจากไม่มีการจัดตารางในการขึ้นสินค้าที่ชัดเจน รถบรรทุกเข้ามารับสินค้าพร้อมกันหลายๆรายทำให้ต้องรอคิวในการขึ้นสินค้า ขาดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีเครื่องมือช่วยในการตรวจนับสินค้าส่งผลต่อส่งสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เพิ่มค้าใช้จ่ายในจ้างคนงานขนถ่ายสินค้า ความผิดพลาดในการดำเนินงานและความยุ่งยากในการบริหารงาน

-บริษัทผู้ให้บริการขนส่งเข้ามารับสินค้าช้า 10 เที่ยว คิดเป็น 10.2 % ของจำนวนเที่ยวทั้งหมดเกิดจากผู้ให้บริการขนส่งรอร่วมสินค้า ในการส่ง สินค้าที่ส่งมีน้อยเกินไปไม่คุ้มค้าส่ง ขาดการติดต่อประสานงาน ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญทำให้ไม่สามารถจัดเตรียมรถให้พร้อมในการให้บริการ หรือจัดรถบรรทุกไม่เหมาะสมกับงานส่งผลต่อการส่งสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดระดับการให้บริการลดลง และต้นทุนในการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นในการจัดเตรียมสินค้ารอส่ง

-บริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าใช้เวลาในการขนส่งสินค้านาน เกิดจากบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้ารับสินค้าแล้วไปเก็บไว้ที่ศูนย์ กระจายสินค้าเพื่อรอรวมกับสินค้ารายอื่น หรือ ส่งสินค้าในหลายพื้นที่ในเที่ยวเดียว ขาดการวางแผนการขนส่งสินค้าร่วมกัน ขาดการประสานงานเวลาในการเข้าไปส่งสินค้าต้องรอคิวลงสินค้านาน ส่งผลให้ส่งสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด 4 รายการจาก 8 รายการที่ส่งสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด

2.ใช้ทรัพยากรไม่มีเต็มประสิทธิภาพ

-รถบรรทุกสินค้าไม่เต็มคันของรถบรรทุกมีจำนวน 18 เที่ยวคิดเป็น 19.78% ของจำนวนเที่ยวทั้งหมดผู้วิจัยคิดจากปริมาณสินค้าที่

บรรทุกต่ำกว่า 80% ของความสามารถในการให้บริการของรถบรรทุก และไม่มีสินค้าในเที่ยวกลับ 100 % เกิดจากการได้รับปริมาณสินค้าที่ไม่แน่นอนในแต่ละวันไม่สามารถประมาณการการใช้รถหรือเตรียมความพร้อมในการใช้รถให้เหมาะสมกับงานได้ ความผิดพลาดในการติดต่อประสานงาน ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน ส่งผลต่อการส่งสินค้าไม่ตรงเวลาที่กำหนดเนื่องจากเข้าไปรับสินค้าช้า ใช้ทรัพยากรได้ไม่เต็มประสิทธิภาพของบริษัทผู้ให้บริการ และส่งผลทางอ้อมต่อต้นทุนค้าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากการขอขึ้นราคาค้าขนส่งของบริษัทผู้ให้บริการ

  1. พนักงานมีความผิดพลาดในการติดต่อประสานงาน

-ความผิดพลาดในการสื่อสารงานด้านเอกสาร การส่งหรือรับข้อมูลคำสั่งส่งสินค้าผิดพลาดไม่ครบถ้วน การจดบันทึกที่ผิดพลาด ความสะเพร่า/หลงลืมของพนักงาน การให้หรือรับข้อมูลไม่ชัดเจน เกิดจากขาดเครื่องมือที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร ขาดรูปแบบมาตรฐานในการดำเนินงาน เช่น การจดบันทึกที่มีแบบฟอร์มเดียวกัน ในปัจจุบันโดยการติดต่อสื่อสารผ่านทางเอกสารที่จดด้วยลายมือ ผ่านทางโทรศัพท์ หรือ

การตะโกนบอกเนื่องจากสำนักงานบริษัทผู้ให้บริการกรณีศึกษาต้องอยู่ใกล้กับฝ่ายจัดส่งของบริษัทผู้ว่าจ้างส่งผลต่อความยุ่งยากการติดตามและ

ตรวจสอบสินค้าระดับการให้บริการลดลง ความลาช้าในการดำเนินงาน

-ความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารด้านการทำงานและเวลา ไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนหรือตารางการเข้ามารับสินค้าที่ชัดเจนมีเพียงกำหนดวันในการเข้ามารับสินค้าบริษัทผู้ให้บริการขนส่งส่วนใหญ่เข้ามารับสินค้าในช่วงเย็นซึ่งทำให้เกิดปัญหาการรอคิวขึ้นสินค้า ไม่มีการ

แสดงข้อมูลตำแหน่งรถบรรทุกที่เข้ามารับสินค้า ส่งผลให้ ปัญหาการรอคิวขึ้นสินค้านาน ความล่าช้าในการขึ้นสินค้า ต้นทุนการจัดเตรียมสินค้า

และการจ้างพนักงานขนถ่ายเพิ่มขึ้น

 

บริษัทขนส่งสินค้า และผลการศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กร

จากการศึกษาการทำงานบริษัทผู้ว่าจ้าง และ บริษัทขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการขนส่งกรณีศึกษา ทั้ง 2 บริษัทมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาระดับความร่วมมือจากระดับ Cooperationไปสู่ระดับCollaboration (ความร่วมมือในการทำงาน) เนื่องจาก

ทั้ง 2 บริษัทให้ความสนใจในการนำแนวคิดความร่วมมือมาใช้ในการพัฒนากระบวนการขนส่งสินค้าถึงแม้ว่าบริษัทผู้ว่าจ้างจะไม่ได้ให้ความสำคัญมากกับการพัฒนาความร่วมมือกับบริษัทผู้บริการขนส่งแต่ก็ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการพัฒนาความร่วมมือ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคผังรากไม้หรือผังต้นไม้ การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานขนส่งนั้นมาจากทั้ง

2 บริษัทขาดความร่วมมือในการดำเนินงาน ทั้ง 2 ฝ่ายยังทำงานโดยแยกกันบริหารจัดการและให้ความสำคัญกับงานของตอนเองเป็นหลัก การศึกษาองค์ประกอบของความร่วมมือในการทำงานของทั้ง 2 บริษัทกรณีศึกษาพบว่าที่ยังขาด การแลกเปลี่ยนข้อมูล การวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน บุคลากรในการดำเนินงาน แนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน และแบ่งปันความเสี่ยงและผลประโยชน์ร่วมกัน ส่งผลต่อต้นทุนโดยรวมเพิ่มขึ้น ระดับการให้บริการลดลง และความยุ่งยากในการบริหารงานในกิจกรรมต่างๆในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ว่าจ้างและบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้ากรณีศึกษา ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการการดำเนินการเริ่มจากโดยผู้วิจัยอ้างอิงมาจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา ให้มีความเหมาะสมกับในบริษัทกรณีศึกษา

สร้างมุมมองให้บริษัทผู้ว่าจ้างและบริษัทผู้ให้บริการขนส่งมีความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือ ร่วมทั้งผู้บริหารให้ความสนใจการพัฒนาความร่วมมืออย่างจริงจัง ผู้วิจัยได้แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 การที่ทั้ง 2 ขาดความร่วมมือในการดำเนินงานนั้นส่งผลให้ทั้งสองบริษัทเกิด

การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้มีต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และระดับในการให้บริการลดลง ซึ่งแนวคิดความร่วมมือในการ

ขนส่งนั้นสามารถลดหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ

สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันโดยมีการประชุมกันระหว่างกันมากขึ้นมีการร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการ กำหนดตารางในการเข้ามารับสินค้าและขึ้นสินค้าให้มีความเหมาะสมเพื่อที่จะได้ไม่เกิดการรอขึ้นสินค้า จัดรายการขนส่งสินค้าและปรับเปลี่ยนเวลานำส่งสินค้าให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายเพื่อลดการใช้เวลาในการขนส่งสินค้านานเกินไป บริษัทผู้ว่าจ้างขนส่งให้ข้อมูลการพยากรณ์ยอดขายในแต่ละเดือนหรือรายสัปดาห์ให้กับบริษัทผู้ให้บริการขนส่งเพื่อที่บริษัทผู้ให้บริการขนส่งจะได้เตรียมความพร้อมในการจัดรถบรรทุกสินค้า บริษัทผู้ให้บริการขนส่งแจ้งความสามารถในการให้บริการกับบริษัทผู้ว่าจ้างเพื่อจัดเตรียมงานในการขนส่งสินค้าและรับงานให้มีความเหมาะสมกับความพร้อมในการให้บริการของบริษัทผู้ให้บริการเพิ่มการใช้ประสิทธิภาพรถบรรทุกและลดการเข้ามารับสินค้าช้าของบริษัทผู้ให้บริการขนส่ง ร่วมกันลงทุนในด้านเทคโนโลยีในการติดต่อประสานงานให้มีประสิทธิภาพเชื่อโยงเทคโนโลยีระหว่างกันเพื่อลดความผิดพลาดในการดำเนินงาน มีการแจ้งเรื่องสำคัญต่างๆในการดำเนินงานระหว่างกันเพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงานการส่งสินค้าและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันซึ่งขั้นที่ 2 นี้ทำให้ทั้ง2 บริษัทลดหรือกำจัดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่แสดงในภาพที่ 3

ทั้งนี้ต้องมีการกำหนดข้อบังคับในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน และหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละองค์กร

  1. มีการวัดผลการดำเนินงานร่วมกันและประเมินผลการดำเนินงานหลังการมีการพัฒนาความร่วมมือ เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานต่อถ้าผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ เช่น เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย ขยายผลไปสู่ความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ หรือ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานถ้าผลการดำเนินงานยังไม่ดีเท่าที่ควรหรือ ยุติการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันถ้าเห็นว่าร่วมมือกันแล้วไม่เกิดผลประโยชน์ ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างกันจำเป็นต่อให้ความเชื่อใจระหว่างกันและเปิดใจรักษาความลับของบริษัทพันธมิตร

ข้อเสนอแนะสำหรับ บริษัทขนส่งสินค้า

ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเพียง 2 บริษัทที่ทำงานร่วมกันซึ่งยังไม่ครอบคลุมการทำงานของบริษัทผู้ว่าจ้างขนส่งและผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทั้งหมดไม่สามารถสรุปได้ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ว่าจ้างขนส่งและผู้ให้บริการขนส่งสินค้าในบริษัทอื่นๆมีลักษณะเหมือนกันกับบริษัทกรณีศึกษาบทความนี้แสดงให้เห็นเพียงตัวอย่างการทำงานระหว่างผู้ว่าจ้างขนส่งและ ผู้ให้บริการขนส่ง  กรณีศึกษาเท่านั้นเพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาความร่วมมือในการขนส่งสินค้าด้วยแนวคิดความร่วมมือการการทำงาน (collaboration)การพัฒนาความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ว่าจ้างและบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้า เพื่อใช้แก้ไขปรับปรุงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในการขนส่งสินค้า ยังไม่บางขั้นตอนต้องอาศัยองค์กรอื่นให้ความร่วมมือถึงถึงจะสำเร็จได้ ซึ่งเห็นได้ว่าการพัฒนาความ ร่วมมือเพียง 2 องค์กรยังไม่ครอบคลุมการดำเนินงานขนส่งสินค้าทั้งระบบ ดังนั้นการนำแนวคิดความร่วมมือในการขนส่งสินค้ามาใช้พัฒนาระบบขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต้องมีการพัฒนาความร่วมมือทุกองค์กรในโซ่อุปทาน

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)