บริษัทขนส่งสินค้า และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการขับขี่

บริษัทขนส่งสินค้า และองค์ประกอบด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับผู้ขับขี่

บริษัทขนส่งสินค้า สามารถเข้ามามีส่วนร่วมเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร ในส่วนนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับผู้ขับขี่ ที่จะต้องนำไปใช้ แนวทางการปฏิบัติงานเหล่านี้ อาจจะนำไประบุเพิ่มเติมไว้ในข้อบังคับทางกฎหมายของท้องถิ่นนั้น และ/หรือกฎระเบียบของบริษัทขนส่งนั้นๆ ในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้กับกฎระเบียบของบริษัท หรือ กฎหมายท้องถิ่นนั้น จะต้องยึดถือปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทหรือกฎหมายที่ใช้ปฏิบัติอยู่ โดยมีเป้าหมายอย่างน้อยที่สุดให้เทียบเท่ากับ องค์ประกอบนี้

  1. การสร้างความพร้อม และการป้องกันการเกิดความเหนื่อยล้า พนักงานขับรถจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอและมีความพร้อมอยู่เสมอในขณะปฏิบัติงาน
  2. ยาเสพติด และแอลกอฮอล์ พนักงานขับรถต้องไม่ขับรถในขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือสารเสพติดอื่นๆ รวมถึงยาต่างๆ ที่จะมีผลทำลายความสามารถในการขับรถ
  3. เข็มขัดนิรภัย รถทุกคันต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่นั่งคนขับและทุกที่นั่งโดยสาร
  4. ผู้โดยสาร พนักงานขับรถต้องไม่รับผู้โดยสารระหว่างปฏิบัติงาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัท
  5. น้ำหนักบรรทุก น้ำหนักบรรทุกของรถจะต้องปลอดภัยและไม่เกินน้ำหนักที่บริษัทผู้ผลิตรถกำหนดไว้หรือน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนดถ้ากฎหมายจำกัดน้ำหนักน้อยกว่า
  6. การเคารพกฎระเบียบจราจรและเครื่องหมายจราจร พนักงานขับรถจะต้องรู้จักและเคารพเครื่องหมาย และกฎระเบียบการจราจร รวมทั้งสถานที่ที่คาดว่าจะมีการเดินทางไปบ้างเป็นครั้งคราว
  7. โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารสองทาง ห้ามพนักงานขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างขับรถ รวมถึงการส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ด้วย
  8. ความชัดเจนในการมองเห็นทั้งรถและพนักงานขับรถ พนักงานขับรถต้องสวมเสื้อสะท้อนแสงหรือเสื้อผ้าที่ติดแถบสะท้อนแสง เมื่อปฏิบัติงานอยู่ภายนอกตัวรถหรือบริเวณพื้นที่ใกล้กับรถที่วิ่งอยู่ พนักงานขับรถต้องเปิดไฟระหว่างการขับรถตลอดเวลาแม้ในเวลากลางวัน ถ้ากฎหมายอนุญาตให้ปฏิบัติได้
บริษัทขนส่งสินค้า และองค์ประกอบความปลอดภัย
บริษัทขนส่งสินค้า มีส่วนช่วยให้ผู้ขับขี่ และผู้ร่วมทางบนท้องถนน เกิดความปลอดภัยได้อย่างไร

ผู้บริหาร บริษัทขนส่ง และองค์ประกอบด้านความปลอดภัย

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับผู้บริหารซึ่ง บริษัทขนส่งสินค้า จะต้องนำมาใช้เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการขับรถในระยะยาวให้ดีขึ้น

  1. ความเป็นผู้นำ และความรับผิดชอบ ผู้นำในทุกระดับของบริษัทจะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในทุกส่วนงานให้เห็นเด่นชัด สำหรับความปลอดภัยในการขับรถจะต้องมีการกำหนดบทบาท และ หน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนตั้งแต่ระดับผู้จัดการลงมาตามโครงสร้างการจัดการตามที่ได้รับมอบหมาย
  2. คุณสมบัติ และการคัดเลือกผู้ขับขี่ บุคคลใดก็ตามที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการขับรถจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด มีความพร้อม และสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด
  3. การฝึกอบรม และการประเมินผลการขับขี่ พนักงานขับรถทุกคนที่ขับรถให้กับบริษัท จะต้องได้รับการฝึกอบรมการขับรถเบื้องต้นตามที่จำเป็น ร่วมกับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาจากการประเมินความเสี่ยง สำหรับการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงและใช้รถประเภทพิเศษที่ใช้เฉพาะงาน จะต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมให้กับพนักงานขับรถตามที่เหมาะสมด้วย
  4. การเลือก และการกำหนดคุณสมบัติรถ รถที่ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยการพิจารณาประเภทของงาน และระยะเวลาในการเดินทาง โดยให้เหมาะสมกับทั้งพนักงานขับรถและประเภทของรถ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการขนส่งจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีความเสี่ยงต่อพนักงานขับรถ และผู้ขับขี่บนท้องถนน น้อยที่สุด
  5. การซ่อมบำรุงรักษารถ บริษัทต้องมั่นใจว่ารถของบริษัททั้งหมดสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและต้องได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำโดยถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานการซ่อมบำรุงตามที่กำหนดไว้
  6. การตรวจสอบรถก่อนออกเดินทาง บริษัทต้องมีระบบที่ใช้ในการตรวจสอบรถเป็นประจำทุกวัน โดยระบุถึงจุดที่จำเป็นต้องตรวจสอบและความถี่ในการตรวจสอบรวมทั้งบุคคลผู้ทำการตรวจสอบ

 

  1. ระบบการบันทึกข้อมูลการใช้รถ (ระบบวีดีอาร์ หรือ กล่องดำ) บริษัทหรือธุรกิจที่พนักงานขับรถมีปัญหาด้านพฤติกรรมหรือต้องปฏิบัติงานในสภาพพื้นที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องพิจารณาติดตั้งระบบการติดตามรถ GPS หรือ เครื่องบันทึกข้อมูลการใช้รถ ที่ได้รับการรับรองไว้ที่รถไม่ว่าจะเป็นรถของบริษัท รถเช่า หรือ รถของผู้รับเหมาก็ตาม เครื่องบันทึกข้อมูลการใช้รถ และระบบการติดตามรถจะเก็บข้อมูลการเดินทางเพื่อนามาวิเคราะห์และแจ้งผลกลับไปให้พนักงานขับรถและหัวหน้างานได้รับทราบ
  2. การจัดการจราจรภายในโรงงาน บริษัทต้องมีแผนจัดการจราจรในทุกพื้นที่ของบริษัท และจัดพื้นทางเดินเท้าให้พ้นจากทางที่มีรถวิ่ง
  3. การจัดการอันตรายในเส้นทางภายนอก การเดินทางบนถนนสาธารณะในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือระหว่างที่สภาพอากาศไม่ดีต้องมีการทำการประเมินและต้องมีการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง ถ้าจำเป็น

แนวทางการจัดการองค์ประกอบด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับผู้ขับขี่

แนวทางที่เสนอแนะเหล่านี้เป็นการสรุประบบการจัดการที่จะช่วยให้มั่นใจว่าผู้ขับขี่ได้ปฏิบัติตามแนวทางด้านความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิผล:

  1. การเสริมสร้างและเตรียมความพร้อม และการป้องกันการเกิดความเหนื่อยล้า พนักงานขับรถต้องไม่ขับรถ ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่มีความพร้อม พนักงานขับรถมีหน้าที่ต้องรายงานเวลาพักผ่อนของตนเอง และบริษัทต้องแจ้งให้พนักงานขับรถทราบถึงอาการที่แสดงถึงความเหนื่อยล้า และความไม่พร้อมในการทางาน และวิธีการแก้ไขปัญหานั้น บริษัทต้องมั่นใจว่าระบบค่าตอบแทนของบริษัทจะไม่จูงใจให้พนักงานขับรถนานเกินไป เพราะอาจจะทำให้พนักงานขับรถปฏิบัติงานในขณะที่เหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
  2. ยาเสพติด และแอลกอฮอล์ พนักงานขับรถต้องไม่ขับรถขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือสารเสพติดอื่นๆ รวมถึงยาต่างๆ ที่จะมีผลทำลายความสามารถในการขับรถอย่างปลอดภัย พนักงานขับรถต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดนี้ รวมทั้งกฎระเบียบของท้องถิ่นและข้อกำหนดทั่วไปของบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับแอลกอฮอล์ และยาเสพติด
  3. เข็มขัดนิรภัย รถทุกคัน (รถของบริษัท รถของผู้รับเหมา หรือ รถเช่า ) ต้องมีเข็มขัดนิรภัยติดอยู่ทุกที่นั่ง พนักงานขับรถ และผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่รถวิ่ง การคาดเข็มขัดนิรภัยเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการป้องกันผู้โดยสารที่อยู่ในรถขณะที่เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานขับรถที่ต้องมั่นใจว่าผู้โดยสารทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งของตนเองตลอดเวลาที่รถกำลังวิ่ง รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง หรือ รถโดยสารขนาดใหญ่ ที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัยติดตั้งอยู่ จะให้ใช้ต่อเมื่อไม่มีทางเลือกอื่น และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้น้อยลงจะต้องห้ามไม่ให้ผู้โดยสารนั่งในที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้า (ติดกับกระจกหน้ารถ) และที่นั่งที่อยู่ติดกับประตูรถโดยสารขนาดใหญ่ถ้าที่นั่งนั้นไม่มีเข็มขัดนิรภัยติดอยู่ ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำให้การทำงานของเข็มขัดนิรภัยเสียหาย หรือ ใช้การไม่ได้ สาหรับรถที่มีการติดตั้งเบาะนอนรวมอยู่ด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้ในขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่ ต้องมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุและต้องปฏิบัติตามที่กำหนดตลอดเวลาที่รถกำลังวิ่ง
  4. ผู้โดยสาร พนักงานขับรถต้องไม่รับผู้โดยสารอื่นในระหว่างปฏิบัติงานของบริษัทเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัทขนส่งสินค้า
  5. น้าหนักบรรทุก น้ำหนักบรรทุกของรถต้องปลอดภัยและไม่เกินน้ำหนักที่บริษัทผู้ผลิตรถกำหนดไว้หรือน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด ถ้ากฎหมายจำกัดน้ำหนักน้อยกว่า
  6. การเคารพกฎระเบียบจราจรและเครื่องหมายจราจร (ภายในโรงงานและภายนอกโรงงาน) พนักงานขับรถต้องรู้จักและเคารพเครื่องหมายจราจร และกฎจราจรของโรงงาน (เช่น การจำกัดความเร็ว เครื่องหมายหยุด ฯลฯ) ทั้งนี้ รวมถึงสถานที่ที่คาดว่าจะมีการเดินทางไปบ้างเป็นครั้งคราว
  7. โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารสองทาง ห้ามพนักงานขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระหว่างขับรถ รวมทั้งห้ามไม่ให้รับส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ด้วย การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรี วิทยุสื่อสารสองทาง เพื่อรับฟังและตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ควรใช้เพื่อการติตต่อสื่อสารที่จำเป็นเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายและความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้น โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งที่รบกวนสมาธิ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางรถเป็นอย่างมาก ซึ่งเราตระหนักดีว่า ในขณะที่กฎหมายของหลายประเทศอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีในขณะขับรถ แต่การสนทนาอาจจะทำให้เสียสมาธิซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ บริษัทขนส่งสินค้า ของเรา จึงสนับสนุนไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างการขับรถรวมถึงการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีด้วย
  8. ความชัดเจนในการมองเห็นทั้ง รถขนส่ง และพนักงานขับรถ พนักงานขับรถต้องสวมเสื้อสะท้อนแสงหรือเสื้อผ้าที่ติดแถบสะท้อนแสงขณะปฏิบัติงานอยู่ด้านนอกตัวรถหรือบริเวณพื้นที่ใกล้กับรถที่วิ่งอยู่ พนักงานขับรถต้องสวมใส่เสื้อสะท้อนแสงในขณะที่ปฏิบัติงานอยู่ริมถนน บนถนนที่มีการขนย้ายวัสดุ และบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานที่มีอุปกรณ์เคลื่อนที่อยู่ เสื้อสะท้อนแสงเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมการจัดการจราจรที่เป็นการเตือนผู้ใช้รถใช้ถนน ให้ทราบล่วงหน้าว่ามีพนักงานขับรถอยู่บนถนนหรืออยู่ข้างถนนและต้องสามารถใช้ได้ทั้งในเวลากลางวันหรือกลางคืน เช่น การใช้ร่วมกับวัสดุที่เป็นฟลูออเรสเซ็นส์ (เรืองแสง) และสะท้อนแสง พนักงานขับรถต้องเปิดไฟระหว่างการขับรถตลอดเวลา ถ้ากฎหมายอนุญาตให้ปฏิบัติได้ การขับรถโดยเปิดไฟในเวลากลางวันจะช่วยให้มองเห็นรถได้ดีขึ้นและช่วยลดอุบัติเหตุ สาหรับไฟที่ใช้เปิดเวลาที่ขับรถในช่วงกลางวัน จะต้องมีความสว่างเพียงพอที่จะทำให้มีความระมัดระวัง และรับรู้ว่ากาลังมีรถวิ่งมา แต่แสงสว่างจะต้องไม่สว่างเกินไปจนทำให้ตาพร่ามัว

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)