รถขนส่งสินค้า และกลยุทธ์การลดต้นทุน

รถขนส่งสินค้า และกลยุทธ์การลดต้นทุนของ บริษัทขนส่งสินค้า

รถขนส่งสินค้า หลังการเปิดเสรีโลจิสติกส์และบริการ ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เริ่มถูกกล่าวถึงมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวก็ด้วยความเป็นห่วงว่า ธุรกิจไทยจะเสียเปรียบในแง่ของการแข่งขัน เพราะทุกวันนี้ต้นทุนการขนส่งสินค้าของไทยค่อนข้างสูงแม้ว่าหลายปีที่ผ่านมา เราจะวางเป้าหมายในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เหลือ ร้อยละ16 ต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังคงสูงอยู่และมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งเมื่อหันไปดูต้นทุนโลจิสติกส์ของชาติอื่นเช่นชาติในอาเซียนด้วยกันอย่างประเทศมาเลเซียหรือสิงคโปร์ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าไทยกว่าครึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เลยกลายเป็นเป้าใหญ่ที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นจุดอ่อน หากเปิดเสรีเต็มที่และปล่อยให้ทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เอสเอ็มอีก็ยากจะอยู่รอดดังนั้นการศึกษาวิธีการต่างๆที่จะช่วยลดต้นได้ เช่นลดการใช้เชื้อเพลิงต่อเที่ยว หรือการทำให้สามารถบรรทุกต่อเที่ยวได้มากขึ้นโดยใช้พลังงานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมเล็กน้อย  อย่างเช่นการใช้รถบรรทุกกึ่งพ่วงแบบพิเศษ (B-Double)เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง เพื่อรองรับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการนำเสนอ นวัตกรรม เพื่อใช้ลดต้นทุนการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในภาพรวมของประเทศ เพื่อเข้าไปแข่งขัน กับประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รถบรรทุกแบบB-double ได้มีการพัฒนาขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย และมีหลากหลายรูปแบบ กว่าที่นำมาทดลองใช้ในประเทศต่างๆ คาดว่า B-double มาจากการที่เรียกรถหัวลากว่าเป็นตัว A และเรียกตัวหางหรือตัวกึ่งพ่วงว่าเป็นตัว B เมื่อมีตัวกึ่งพ่วง 2 ตัว จึงเรียกว่า B-double หากมีตัวกึ่งพ่วงต่อกันเพิ่มเป็น 3 ตัวก็เรียกว่า B-triple ถ้าเพิ่มเป็น 4 ตัวเรียก Double B-double รถประเภทนี้เรียกกันว่า Road Train บางรัฐในประเทศออสเตรเลียกำหนดให้รถกึ่งพ่วงแบบพิเศษนี้ยาวสูงสุดได้ถึง 53.5 เมตร น้าหนักรวมได้สูงสุดถึง 200 ตัน หากสามารถนำรถบรรทุกกึ่งพ่วงแบบพิเศษ (B-Double) มาใช้งานได้ จะสามารถลดปัญหาถนนพัง และการบรรทุกเกินพิกัดได้ เนื่องจากในทางเทคนิค รถบรรทุกกึ่งพ่วงแบบพิเศษ (B-Double)มีน้าหนักบรรทุกต่อเที่ยวที่เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับถนน เหมือนรถบรรทุกสิบล้อ ที่บรรทุกเกินกำหนด เนื่องจากน้ำหนักที่กดลงเพลา ถูกเฉลี่ยกระจายออก เนื่องจากรถกึ่งพ่วงแบบพิเศษ (B-Double)มีเพลาที่เพิ่มขึ้นจึงกระจายน้ำหนักได้ดีกว่าโดยไม่ทำลายถนน กฎหมายได้กำหนดค่าน้ำหนักรวม เพื่อให้น้ำหนักที่ถ่ายลงไปที่เพลาแต่ละเพลาของรถมีค่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ น้ำหนักลงเพลาเดี่ยวต้องมีค่าไม่เกิน 9.1 ตัน และน้ำหนักลงเพลาคู่ (เพลา 2 เพลาที่อยู่ใกล้กัน) ต้องมีค่าในแต่ละเพลาไม่เกิน 8.2 ตัน ค่าน้ำหนักลงเพลาเหล่านี้สอดคล้องกับการออกแบบโครงสร้างถนน และเป็นค่าน้ำหนักที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งยังลดจำนวนเที่ยวเนื่องจากน้ำหนักและปริมาณบรรทุกที่เพิ่มขึ้นสามารถบรรทุกได้ สองเท่าของรถบรรทุกสิบล้อ เพราะสามารถลดน้ำหนัก ในส่วนของน้ำหนักตัวรถเปล่า ได้หนึ่งคัน ในกรณีที่บรรทุกด้วยรถบรรทุกสิบล้อ 2 คัน เปลี่ยนมาบรรทุกด้วยรถบรรทุกกึ่งพ่วงแบบพิเศษ (B-Double)

รถขนส่งสินค้า แบบ B-Double
รถขนส่งสินค้า และกลยุทธ์กรลดต้นทุน โดยใช้ รถบรรทุกแบบ B-Double

บริษัทขนส่งสินค้า และผลกระทบจากบริการ

บริษัทขนส่งสินค้า มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการพัฒนาระบบการขนส่ง ย่อมมีส่วนผลกระทบต่อการพัฒนาระบบอื่นๆ ของประเทศด้วย การพัฒนาระบบการขนส่งที่ดีย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลผลิตจากภาคชนบทสู่ตัวเมือง ทำให้คนชนบทมีรายได้ดีขึ้นแต่ก็ส่งผลกระทบให้ประชาชนในชนบทในชนบทเปลี่ยนการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้เพราะสามารถจัดซื้อสิ่งอุปโภค บริโภคจากตัวเมืองได้สะดวกขึ้น การเปลี่ยนระบบการผลิตในชนบท จากการผลิตเพื่อบริโภค ไปสู่การผลิตเพื่อขาย ต้องใช้ที่ดิน น้ำและยาฆ่าแมลงมากขึ้นกว่าเดิม ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผลกระทบดังกล่าว ส่วนผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการขนส่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่มีการพัฒนาการการขนส่งอย่างพอเพียงย่อมทาให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะการสร้างทางรถยนต์ ทางรถไฟ เข้าไปในพื้นที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาด และส่งผลให้เกิดรายได้ต้องการขยายผลผลิตมากขึ้น การขนส่งนอกจากนำผลผลิตออกจากหมู่บ้านแล้ว ยังนำสินค้าจากเมืองเข้าสู่หมู่บ้านอีกด้วย การแลกเปลี่ยนผลผลิตและการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นดังกล่าวแล้วก่อให้เกิดรายได้ การสร้างงาน การลงทุน ผลที่สุดก็เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ และทางรถบรรทุกทางถนนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้ประเทศเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

โครงการจัดสร้างโครงข่าย รถขนส่งสินค้า เที่ยวไปกลับ

เป้าหมายของเราคือการเป็นผู้นำในธุรกิจบริการด้านขนส่งสินค้าในประเทศไทย ให้บริการที่มีคุณภาพเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ ตรงตามความต้องการได้

มาตรฐานระดับสากล

รถขนส่งสินค้า และกลยุทธ์ในการบริหารการขนส่ง ทั้งเที่ยวไปและกลับ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งด้วยการลดการวิ่งเที่ยวเปล่าเป็นการจัดการการขนส่งที่มีเป้าหมายให้เกิดการใช้ประโยชน์จากยวดยาน เพราะการขนส่งโดยทั่วไปเมื่อส่งสินค้าเสร็จ จะตีรถวิ่งเที่ยวเปล่า กลับมา ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนของการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นโดย เปล่าประโยชน์ ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นมานี้นับเป็นต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า และผู้ประกอบการต้อง แบกรับภาระต้นทุนเหล่านี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารการขนส่งสินค้าเที่ยวกลับในปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนักเนื่องจากไม่ทราบปริมาณความต้องการในการขนส่งสินค้า รวมถึงจุดหมายปลายทางของสินค้าที่สำคัญปริมาณความต้องการการขนส่งสินค้าระหว่างต้นทางและปลายทางมักจะมีปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้น การจัดทำโครงการจัดสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้า (ไป-กลับ) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีประโยชน์หลายประการคือ

  1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การขนส่งด้วยการลดการวิ่งเที่ยวเปล่าหรือ Backhauling Management เป็นการจัดการการขนส่งที่มีเป้าหมายให้เกิดการใช้ประโยชน์จากยวดยานในการบรรทุกจากเที่ยวเปล่ากลับ (Backhauling) ในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจขนส่งจ.ฉะเชิงเทรา
  1. เป็นการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมและสถาบันการศึกษา เริ่มต้นการบูรณาการความร่วมมือให้เกิดการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้รถขนส่ง และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งด้วยการลดการวิ่งเที่ยวเปล่าร่วมกัน
  1. เพื่อสร้างศักยภาพ ในการแข่งขันให้วิสาหกิจอุตสาหกรรมธุรกิจขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สำรวจ และศึกษากระบวนการ ขนส่งสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ  สำรวจ และศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และข้อมูลงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพการอุตสาหกรรมธุรกิจ ขนส่งสินค้า สามารถสรุปปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ที่จำเป็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

ภาพรวมผู้ประกอบการขนส่งสินค้า

การขนส่งทางบกสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะของการดำเนินการ คือ

  1. ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะหมายถึง ผู้ประกอบการที่ให้บริการขนส่งแก่สาธารณะชนโดยทั่วไป ทั้งประจำเส้นทางและไม่ประจำเส้นทางผู้ประกอบการขนส่งตามสัญญา

หมายถึง ผู้ประกอบการที่ให้บริการรับจ้างขนส่งสินค้าแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีสัญญาการว่าจ้างระหว่างกันเพื่อให้บริการขนส่งอย่างต่อเนื่อง

  1. ผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลหมายถึง ผู้ประกอบการขนส่งเพื่อกิจการของตนเองเพื่อสินค้าของตนเองโดยใช้พาหนะของตนเอง
  1. ผู้รับจัดการขนส่ง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้า เพื่อส่งมอบให้ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะหรือผู้ประกอบการขนส่งตามสัญญาต่อไป โดยที่ผู้รับจัดการขนส่งจะเป็นผู้รับผิดชอบการขนส่ง
  1. ผู้ประกอบการสถานที่ขนส่งหมายถึง ผู้ประกอบการสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นสถานที่ขนถ่ายสินค้าหรือรวบรวมสินค้าเพื่อทำการขนส่งต่อไป โดยทั่วไปรัฐจะเป็นผู้ดำเนินกิจการของสถานีขนส่งเอง

แนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการ รถขนส่งสินค้า

  1. ปัจจัยการบริหารการขนส่ง ผู้ว่าจ้างขนส่งสินค้าและผู้รับจ้างขนส่งต่างก็ต้องการประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องการให้ต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุด จัดส่งสินค้าให้ถึงผู้รับส่งสินค้าในเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้กระบวนการต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
    1. สินค้าและบริการ ปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานรองรับ เพื่อรองรับคุณภาพมาตรฐานและแนวโน้มของธุรกิจ ลูกค้าทุกรายต้องการคุณภาพมาตรฐาน ทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ ผู้ผลิตสินค้าและขนส่งก็ต้องจัดการส่งสินค้าถึงตรงเวลาครบถ้วนปลอดภัยไม่มีเสียหาย โดยให้มีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำที่สุด
    2. รถขนส่งสินค้า จำเป็นต้องเลือกประเภทรถบรรทุกให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน และมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นในการเลือกใช้รถบรรทุกจะต้องพิจารณาว่า จะขนส่งสินค้าประเภทใดน้ำหนักเท่าไหร่ เส้นทางวิ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไรต้องการความเร็ว หรือเน้นที่ความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นข้อสำคัญในการเลือกใช้รถบรรทุกให้เหมาะสมกับประเภทการขนส่ง รวมทั้งหลังจากการใช้งานควรมีการตรวจเช็ครถและการดูแลบำรุงรักษาที่ดี เพื่อยึดระยะการใช้งานได้นานขึ้น
    3. พนักงานขับรถ แต่ละบริษัทต้องการพนักงานขับรถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างประหยัด ขับรถปลอดภัย มีความกระตือรือร้น มีบุคลิกที่ดี ดูแลรถได้อย่างถูกต้อง มีจิตสำนึกช่วยลดต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานขายงานตลาดของบริษัท พนักงานขับรถบรรทุกจะต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังคม และสิ่งแวดล้อมสูง นอกจากรับผิดชอบสินค้าแล้วยังต้องรับผิดชอบรถด้วย
  2. การลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนในการขนส่งนั้นอาจจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังต่อไปนี้
    1. ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกิจขนส่ง ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่และลดได้ยาก ซึ่งจะประกอบด้วย เงินเดือนของพนักงาน ค่าประกันภัย ค่าภาษีรถ ค่าใช้จ่ายสำนักงานค่าเช่า ค่าเสื่อมราคาต่างๆ เป็นต้น กล่าวคือต้นทุนนี้เกิดขึ้นเป็นจำนวนคงที่ ต้นทุนชนิดนี้ถึงแม้ว่าจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากหรือจำนวนน้อยเพียงใด ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในอัตราเท่าเดิมอยู่
    2. ต้นทุนผันแปร เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนการผลิต สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายได้คือ ต้นทุนรถวิ่ง (Running Cost) เนื่องจากต้นทุนของการขนส่งที่เกิดจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีอัตราส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ดังนั้น หากสามารถบริหารจัดการในเชิงวิศวกรรมแล้ว จะทำให้สามารถทราบได้ว่าพฤติกรรมในการใช้งานรถบรรทุกแบบใดก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงสูง ซึ่งถ้าทราบถึงสาเหตุของการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเหล่านั้น ก็จะสามารถวางมาตรการสำหรับการประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมากเช่นกันปัจจัยที่เป็นต้นทุนของการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของรถบรรทุกสามารถจำแนกออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคนิค ปัจจัยด้านการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น จราจรติดขัด ทางลาดชัน และปัจจัยด้านการขับขี่ ควรปลูกฝังพนักงานขับรถให้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด
  3. การบริหารงานบุคลากร คุณภาพของพนักงานขับรถเป็นสิ่งที่ต้องเข้มงวดตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกควรมีการสอบสัมภาษณ์ ความรู้เรื่องรถ กฎจราจร ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการยังไม่ค่อยใส่ใจมากนัก ควรมีการตรวจร่างกาย และการทดสอบขับรถรวมถึงการควบคุมดูแลและการตรวจวัดผล ควรมีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรแต่งตั้งและมอบหมายผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการอบรมพนักงาน จัดทำคู่มือมาตรฐานในการปฏิบัติงานการปลูกฝังทัศนคติ และจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนนดังนั้น เมื่อศึกษาต้นทุนการขนส่งที่แท้จริงแล้วจะพบว่า ต้นทุนเที่ยวกลับ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่าที่สูงในปัจจุบัน ประการหนึ่งมาจากการขาดข้อมูล ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการรายหนึ่งต้องทำการขนส่งสินค้าจากฉะเชิงเทราไปยังจังหวัดนครปฐม แต่ไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ ณ จังหวัดนครปฐม ทำให้ขาดเครื่องมือที่จะสามารถตรวจสอบว่า เมื่อถึงปลายทางที่จังหวัดนครปฐมแล้วจะมีผู้ต้องการว่าจ้างขนสินค้าจากนครปฐมมายังฉะเชิงเทราในเวลาที่เหมาะสมกันหรือไม่ จึงต้องเดินรถเที่ยวเปล่ากลับฉะเชิงเทราซึ่งความเป็นจริงอาจมีผู้ต้องการว่าจ้างรถบรรทุกจากจังหวัดนครปฐมมายังฉะเชิงเทราในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็ได้จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้ประกอบการ ขนส่งสินค้า มากที่สุดคือ 483 ราย รองลงมาคือ ภาคตะวันออก 92 ราย และเมื่อเทียบตามสัดส่วนจังหวัดจะพบว่าภาคตะวันออกมีจำนวนผู้ประกอบการขนส่งมากที่สุด ถ้าไม่นับรวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ)ที่มีผู้ประกอบการประมาณ 359 ราย แสดงให้เห็นว่าภาคตะวันออกมีปริมาณการขนส่งทางบกเป็นจำนวนมากทำให้มีผู้ประกอบการสนใจลงทุนในภูมิภาคนี้มากที่สุด
  4. จัดทำตารางความต้องการการ ขนส่งสินค้า เที่ยวกลับ ร่วมกันอบรมให้ความรู้พื้นฐาน และหลักการฯ ของการวางแผนการขนส่งแบบเชื่อมโยงโครงข่าย คณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ทีมที่ปรึกษาก็ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนด้วยโปรแกรม GPS Technology สำหรับการวางแผนการขนส่งและโปรแกรมพัฒนาระบบภายในองค์กร โดยผู้เชี่ยวชาญออกแบบระบบข้อมูลและระบบในการจัดการด้านการขนส่งเที่ยวกลับร่วมกัน การออกแบบระบบนี้จะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกในโครงการนำร่อง เพื่อการบริหารจัดการระบบการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยที่ผสมผสานแนวคิดการระบุพิกัดผ่านดาวเทียม GPS เข้ากับฟังก์ชันการทำงานผ่านเทคโนโลยี เครือข่ายสื่อสารไร้สาย จึงช่วยให้สามารถควบคุม และติดตามทุกความเคลื่อนไหวของยานพาหนะจากทุกจุดในประเทศ ผ่านจอภาพ พร้อมทำการรายงานสภาวะของยานพาหนะนั้นๆ เช่น ตำแหน่งยานพาหนะในช่วงเวลาต่างๆ บนเส้นทางความเร็วที่ใช้ขณะขับรถ การจอดหรือหยุดรถ (ติด/ดับเครื่องยนต์) ฯลฯ หรือแม้แต่การสั่งตัดระบบไฟฟ้าเครื่องยนต์ในบางกรณี และจัดทำรายงานข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย อีกทั้งมีการบริหารสินค้าเที่ยวกลับในกลุ่มสินค้าทั้ง 5 โดยมีข้อสังเกตว่าจะมีสินค้าเที่ยวกลับอยู่ 2 ประเภทได้แก่
    1. สินค้าเที่ยวกลับที่เกิดจากสินค้าเที่ยวไป ได้แก่ สินค้าทั่วไป ซึ่งเป็นความต้องการของลูกค้าในลักษณะที่ต้องการให้ขนชั้นรองสินค้ากลับด้วยเพื่อใช้ในการขนส่งครั้งต่อไป คิดเป็น 100%ของเที่ยวไป โดยจะมีการตกลงราคาที่รวมต้นทุนและกำไรเที่ยวกลับไว้แล้ว (กำไรเที่ยวกลับโดยประมาณ 20% เทียบกับราคาขนส่งเที่ยวไป)
    2. สินค้าเที่ยวกลับที่เกิดจากมีสินค้าที่ปลายทางเที่ยวไปให้ขนกลับ คิดเป็นประมาณ 5%ของเที่ยวไป (กำไรเที่ยวกลับโดยประมาณ 50% เทียบกับราคาขนส่งเที่ยวไป) ดังนั้นการบริหารการ ขนส่งสินค้า เที่ยวกลับให้มากขึ้นก็สามารถเพิ่มผลกำไรได้อีกทางหนึ่ง
  5. สินค้าเที่ยวกลับที่เกิดจากมีสินค้าอยู่ใกล้กับปลายทางเที่ยวไป ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยเคมี จากรถขนส่ง ที่ไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุตปลายทางกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะต้องให้รถขนส่งออกนอกเส้นทางกลับเพื่อไปรับสินค้า (ปุ๋ย) จากพื้นที่ใกล้เคียง (จังหวัดอ่างทอง) ไปส่งยังพื้นที่ใกล้เคียงก่อนกลับมานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต คิดเป็น 10% ของเที่ยวไป (กำไรเที่ยวกลับโดยประมาณ 80% เทียบกับราคาขนส่งเที่ยวไป)
  6. สินค้าเที่ยวกลับที่เกิดจากมีสินค้ากลับจากปลายทางเที่ยวไปแต่ให้ไปส่งพื้นที่ใกล้เคียงต้นทางเที่ยวไป (เลยจากจุดพักรถ)คิดเป็น 10% ของเที่ยวไป (กำไรเที่ยวกลับโดยประมาณ 80% เทียบกับราคาขนส่งเที่ยวไป) จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าการขนส่งเที่ยวกลับแบบจากต้นทางไปปลายทางแล้วกลับมายังต้นทางนั้นมีเพียง 5% (ยกเว้นที่ตกลงตามเงื่อนไขตามข้อที่ 1) ส่วนใหญ่ยังจะต้องเป็นการหาสินค้าใกล้เคียงปลายทางกลับและยังอาจจะต้องไปส่งยังจุดที่ไม่ใช้ต้นทางแรกหรือจุดพักรถ คิดเป็นประมาณ 20% ของเที่ยวกลับทั้งหมด ทำให้ในส่วนนี้จะต้องมีต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นอีก 20-30% ซึ่งถ้าหากมีการใช้ศูนย์กลางรับกระจายสินค้า (Distribution Center, DC) เป็นการสร้างโครงข่ายเพื่อลดการออกนอกเส้นทางการขนส่ง ให้เหลือโครงข่ายการขนส่งน้อยลงและเรียบง่ายขึ้น ทำให้บริหารจัดการเส้นทางง่ายขึ้นเปิดโอกาสให้เกิดการ Consolidate สินค้าให้เต็มคันรถบรรทุก ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เช่น แทนที่จะส่งสินค้าจากฉะเชิงเทราไปยังแต่ละจังหวัดโดยตรง ซึ่งจะทำให้เกิดการบรรทุกไม่เต็มคันในหลายเส้นทาง(ต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยสูงขึ้น) ก็ใช้วิธีสร้างศูนย์กลางกระจายสินค้าตามจุดที่สำคัญๆ ในพื้นที่ขนส่งประจำให้เป็นจุดกระจายสินค้าอีกทอดหนึ่ง

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)