รถขนส่งสินค้า และความปลอดภัยในการขนส่ง

รถขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยของ บริษัทขนส่งสินค้า

อุบัติเหตุใน รถขนส่งสินค้า ซึ่งมีให้เห็นมากมายในปัจจุบัน บริษัทขนส่งสินค้า ของเราจึงขอแชร์ผลจากการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้า ต่างๆเช่นกรณี รับจ้างขนส่งสินค้าเกษตร และอาหาร พบว่า เกิดจากผู้ประกอบการไม่มีระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าที่ปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการเตรียมสินค้าก่อนการขนส่ง ดังนั้น การจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์รากของปัญหาเพื่อนำไปสู่การจัดทำมาตรการและระบบในการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากการลงทุนและการเคลื่อนไหวของสินค้าตามมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวในภาคธุรกิจมากขึ้น โดยกิจกรรมที่มีส่วนสนับสนุนการดำเนินธุรกิจได้แก่ การให้บริการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้า รวมถึง การดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการต่างๆ ที่ต้องการใช้บริการ รถขนส่งสินค้า  การขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ เมื่อมีกิจกรรมในการขนส่งสินค้ามากขึ้นความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนนอันนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ การเกิดอุบัติเหตุทางถนนส่งผลให้เกิดภาวะตึงเครียดทางการเงินในเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา โดยพบว่า ในประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่ำหรือปานกลาง การเกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้เกิดความสูญเสียคิดเป็นร้อยละ 1-2 ของ GDP ซึ่งในบางกรณีความเสียหายเกินกว่าจำนวนเงินช่วยเหลือจากกองทุนระหว่างประเทศที่ได้รับเข้ามา

รถขนส่งสินค้า หรือการขนส่งสินค้าทางบกถือเป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าหลักของประเทศไทย เนื่องจากเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีความสะดวกและสามารถส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้ใกล้ที่สุด อีกทั้ง ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงโครงสร้างเครือข่ายทางถนนเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC) จึงส่งผลให้มีความสะดวกต่อธุรกิจการขนส่งสินค้าทางบกเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้การขยายตัวและปริมาณการขนส่งสินค้าทางบกจึงมากขึ้นเป็นลำดับและเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการขนส่งสินค้าแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจการสูญเสียทรัพย์สิน และเกิดความเสียหายทั้งต่อพนักงานขับรถบรรทุก  และ บริษัทขนส่งสินค้า เป็นอย่างมากเมื่อพิจารณาตามรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจะพบว่า การเกิดอุบัติเหตุทางถนนมีปัจจัยเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ปริมาณการเกิดอุบัติเหตุจากภาคธุรกิจการให้บริการ การขนส่งสินค้า นั้นส่งผลกระทบไม่เฉพาะต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการขนส่งสาธารณะโดยรวม ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่มีรถบรรทุกเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น การชนท้าย การชนกับรถโดยสารส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ แต่ยังขาดการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง และความสัมพันธ์ของสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนสำหรับรถบรรทุก ซึ่งทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และไม่ก่อให้เกิดระบบที่จะป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในอนาคตองค์การสหประชาชาติได้มีการประมาณการว่าจะมีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวน 75 ล้านคนและบาดเจ็บอีก 750 ล้านคนในครึ่งปีแรกของทศวรรษที่21 โดยพบว่า 1 ใน 3 ของจำนวนการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมีความสัมพันธ์หรือเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในการขนส่งสินค้ากับการบริหารจัดการการขนส่งสินค้า จากการกำหนดปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนของรถบรรทุกโดยใช้หลักการประเมินความเสี่ยง ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อให้สามารถนำการศึกษาไปสู่การออกแบบระบบการจัดการการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กต่อไป

รถขนส่งสินค้า จาก บริษัทขนส่งสินค้า ต่างๆและผลลัพธ์จากการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
รถขนส่งสินค้า จาก บริษัทขนส่งสินค้า ในประเทศ จะสามารถเดินทางในโครงข่ายของประเทศเพื่อนบ้านได้ทั่วถึง
  1. สถานการณ์อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าด้วย รถขนส่งสินค้า

การขนส่งสินค้าทางบกนับเป็นกิจกรรมหลักของอุตสาหกรรมการขนส่งในประเทศไทยโดยมากกว่า 80%ของรูปแบบการขนส่งเป็นการขนส่งโดยรถบรรทุกและมีเพียง 2% เท่านั้นที่อยู่ในรูปแบบการขนส่งทางราง ซึ่งในปัจจุบันการบริการขนส่งในประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพด้วยข้อจำกัดของน้ำหนักบรรทุกที่ต่ำการใช้เชื้อเพลิงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดของขีดความสามารถในการวิเคราะห์และการใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิก รวมถึงการมีมาตรฐานการขนส่งที่ต่ำเนื่องจากมีเพียงการควบคุมมาตรฐานโดยใช้การขอใบอนุญาตจดทะเบียนผู้ประกอบการของภาครัฐเท่านั้นซึ่งมีต้นทุนในการขอใบอนุญาตอยู่ที่ 2,500 บาท และมีระยะเวลาในการบังคับใช้เพียง 5 ปีเท่านั้น ประกอบกับแนวโน้มธุรกิจแนวใหม่ได้เข้ามามีบทบาทให้ผู้ประกอบการรายย่อยใช้บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพและใช้รูปแบบของ การใช้บริการ รถรับจ้าง แบบรับช่วงต่อในภาคการขนส่งมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้กำไรอีกทั้งยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพที่สมบูรณ์ของตลาดในการบริหารจัดการโลจิสติกส์สำหรับประเทศไทย

  1. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนจากการขนส่งสินค้า

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุต่อจำนวนรถจดทะเบียน10,000 คัน โดยแบ่งตามประเภทรถ พบว่า รถบรรทุกจำพวก รถรับจ้าง6ล้อ รถรับจ้าง10ล้อ มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากรถโดยสารสาธารณะและรถยนต์ และมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุๆปี ซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งเมื่อเปรียบเทียบกับการเกิดอุบัติเหตุประเภทอื่นๆ มีมูลค่าความสูญเสียที่มากกว่าในการเกิดอุบัติเหตุจากรถประเภทอื่น

  1. การเกิดอุบัติเหตุทางถนนตามทฤษฎี HaddonMetrix

เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตามทฤษฎีแฮดดอนจะพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุมีทั้งหมด 3 ปัจจัยได้แก่

ปัจจัยด้านคน

ปัจจัยด้ายยานพาหนะและอุปกรณ์ใน รถขนส่งสินค้า

และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนแต่ละครั้งจะเกิดปัจจัยร่วมมากกว่าเกิดจากปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว โดยพบว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ พบว่า 30% ของปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเกิดจากสภาพแวดล้อม เช่นสภาพถนนที่แย่ ทัศนะวิสัยที่ไม่ดี มีเพียง 10% เท่านั้นที่เกิดจากยานพาหนะซึ่งเกิดจากชนิดของรถและการขาดการซ่อมบำรุง ส่วนอีก 90% ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุได้แก่ข้อบกพร่องจากคน ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นยังพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในรถบรรทุกขนาดใหญ่ยังไม่มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยอย่างชัดเจนทำให้ยากต่อการหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของรถบรรทุกขนาดใหญ่สรุปได้ว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนนสำหรับรถบรรทุก ประกอบไปด้วย 4 สาเหตุสำคัญ คือคน ยานพาหนะ ถนน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการบริหารจัดการการขนส่งของภาคธุรกิจ สามารถแบ่งกิจกรรมที่มีความเสี่ยงได้ทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่

(1) วัฒนธรรมด้านการบริหารจัดการมีความเสี่ยงร้อยละ 30

(2) การเดินทาง มีความเสี่ยงร้อยละ20

(3) สภาพแวดล้อมของถนนและสิ่งข้างทางมีความเสี่ยงร้อยละ 10

(4) คน – ผู้ขับขี่ และผู้จัดการ มีความเสี่ยงร้อยละ 20

(5) ยานพาหนะ  มีความเสี่ยงร้อยละ10

(6) ปัจจัยภายนอก/สังคม/การสื่อสาร/ตราสินค้า มีความเสี่ยงร้อยละ20เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า ปัจจัยด้านการบริหารจัดการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับภาคธุรกิจ แต่ยังไม่มีการวิจัยเกี่ยวกับความสำคัญปัจจัยด้านการบริหารจัดการอย่างแท้จริง รวมถึงขาดการวิจัยเกี่ยวกับ

ความสัมพันธ์ของการบริหารจัดการและปัจจัยหลักอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

 

วิธีการศึกษา หรือการวิจัย

โครงการวิจัยจะทำการเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งของบริษัทขนส่งสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์ในการสุ่ม จาก

(1) เส้นทางการขนส่งสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคที่มีความถี่ในการเกิดอุบัติเหตุมาก

(2) ขนาดของผู้ประกอบการขนส่งสินค้า โดยคัดเลือกผู้ประกอบการขนาดกลาง – ขนาดเล็ก

(3) มูลค่าความเสียหายในการเกิดอุบัติเหตุวิธีการเก็บแบบสอบถาม โดยใช้เทคนิค การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยใช้เทคนิค

ผลการดำเนินงานข้อมูลทั่วไป

บริษัทขนส่งสินค้า ของเรามีรถบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้าประเภทอาหารเพื่อการอุปโภคและบริโภค มีระบบในการขนส่งสินค้า จากกรุงเทพฯ ศูนย์กระจายสินค้าในต่างจังหวัด โดยใช้รถจากผู้ผลิตสินค้า รับสินค้าจากกรุงเทพฯ ขนส่งมายังศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ และใช้ รถรับจ้าง6ล้อ จากศูนย์กระจายสินค้าไปถึงร้านค้าปลีก ซึ่งมีรถเป็นของตัวเองทั้งหมด10 คัน และมีการใช้ระบบว่าจ้าง รถรับจ้าง รูปแบบการขนส่งสินค้าเป็นแบบ รับสินค้าต้นทางแล้วส่งที่ปลายทาง เส้นทางในการขนส่งสินค้าจะเป็นรูปแบบเส้นก๋วยเตี๋ยว และมีการควบคุม ระยะเวลาในการขนส่ง เพื่อให้เป็นตามแผนการขนส่งแบบ Just in time

 

การระบุความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในกิจกรรมการขนส่งสินค้า

จากการสำรวจข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภครายหนึ่ง พบว่า มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการมีจำนวนรอบในการขนส่งสินค้าไปยังร้านค้าปลีกต่อวันบ่อย 20 รอบ/วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้รถรับจ้างในการขนส่งสินค้าไปยังร้านค้าปลีกในพื้นที่ ซึ่งมีข้อได้เปรียบในเรื่องการคุ้นเคย

กับเส้นทางและสภาพพื้นที่ แต่ก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการในการขนส่งสินค้าเมื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในกิจกรรมการขนส่งสินค้าตามทฤษฎีของแฮดดอนแมทริก (ตารางที่ 1) พบกิจกรรมที่เป็นความเสี่ยงต่อ

การเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

  1. ก่อนเกิดเหตุ พบว่า

1.1 ปัจจัยด้านคน มีสาเหตุมาจากความพร้อมของพนักงานขับรถ โดยพนักงานขับรถส่วนใหญ่จะทำงานเกิดระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด คือ มากกว่า 8ชั่วโมงต่อวัน ร่วมถึงมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ และประสบการณ์ในการขับขี่พบว่า การเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้าโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการขับรถขนส่งสินค้าน้อย

1.2 ปัจจัยด้านยานพาหนะ พบว่า รถที่นำมาวิ่งในการขนส่งสินค้าเป็นรถที่เก่า บางค้นไม่มีการตรวจเช็คสภาพ หรือการซ่อมบำรุงก่อนการใช้งาน

1.3 ปัจจัยด้านถนนและสภาพแวดล้อม เกิดจากการไม่มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพถนนและการศึกษาเส้นทางก่อนการขนส่งสินค้า

1.4 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ถึงแม้ว่าจะมีการบริหารจัดการตารางในการขนส่งสินค้า แต่ก็ยังไม่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงได้เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ต้องการการขนส่งที่มาก และปริมาณรถที่ไม่เพียงพอต่อการขนส่งสินค้า ทำให้การควบคุมคุณภาพของ รถรับจ้าง ในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการเป็นไปได้ยาก

  1. ระหว่างเกิดเหตุ

2.1 ปัจจัยด้านคน พบว่า ความคุ้นเคยเส้นทางและความตื่นตัวขณะขับขี่ทำให้โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุลดลง โดยปัจจัยดังกล่าวมีผลสืบเนื่องมาจากความพร้อมของพนักงานขับรถก่อนการปฏิบัติงาน

2.2 ปัจจัยด้านยานพาหนะ พบว่า มีการบรรทุกสินค้าเกินน้ำหนักบรรทุก เนื่องจากต้องการขนส่งสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าต่อเที่ยวลง

2.3 ปัจจัยด้านถนนและสภาพแวดล้อม พบว่าป้ายบอกทาง และสภาพถนนและเส้นทางที่เป็นจุดอันตราย

2.4 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ระบบการขนส่งแบบ Just-in-time มีผลต่อการเร่งให้พนักงานขับรถต้องขับรถเร็วกว่าที่กฏหมายกำหนดเพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามความต้องการของนายจ้าง และหากเป็นช่วงระยะเวลาเร่งด่วนและยิ่งส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้า

  1. หลังเกิดเหตุ

3.1 ปัจจัยด้านคน พบว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นพนักงานมีความไวในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินน้อยกว่าปกติ อีกทั้งไม่สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ เนื่องจากความรู้ในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า

3.2 ปัจจัยด้านยานพาหนะ พบว่า รถขนส่งสินค้า ส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถเบื้องต้น

3.3 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ พบว่า บริษัทไม่มีการวิเคราะห์สาเหตุและการรายงานการเกิดเหตุ

Why- Why analysis

เมื่อทำการวิเคราะห์รากของปัญหา(สาเหตุหลัก)โดยใช้เครื่องมือ Why- Why analysis จากข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคของผู้ประกอบการ โดยแบ่งปัจจัยการเกิดเป็น 3 ปัจจัยได้แก่

1) ปัจจัยด้านคน พบว่า ในการเกิดอุบัติเหตุ1 ครั้ง เกิดจาก 3 สาเหตุสำคัญได้แก่ ความอ่อนล้าของพนักงานขับรถ ซึ่งเกิดจากการขับอรถขนส่งสินค้าอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 10 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้การตอบสนองต่อการขับขี่ลดลง อันเกิดจากการไม่มีระบบในการตรวจสอบความพร้อมของพนักงานขับรถก่อนปฏิบัติงาน อีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยด้านคน พบว่า เกิดจากการที่พนักงานขับรถขนส่งสินค้าเร็วกว่าที่กฏหมายกำหนด เนื่องจากต้องขับรถขนส่งสินค้าในระยะเวลาที่จำกัดสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่กล่าวมาข้างต้นมีรากของปัญหามาจากรถขนส่งสินค้าไม่เพียงพอต่อปริมาณ

ในการจัดส่งสินค้าต่อวัน รวมถึงการจัดส่งสินค้าไม่เป็นไปตามตารางและแผนที่ผู้ประกอบการจัดทำไว้ และไม่มีระบบในการตรวจความพร้อมของพนักงานขับรถก่อนการปฏิบัติหน้าที่

2) ปัจจัยด้านยานพาหนะ พบว่า สภาพรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้าเก่ามีอายุในการใช้งานมากกว่า 10ปี อีกทั้งบางคันยังไม่มีการเปลี่ยนอะไหล่ หรือการซ่อมแซม รวมถึงไม่มีการตรวจสภาพรถทั้งประจำปีและก่อนปฏิบัติงาน โดยข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าการที่ไม่มีการเปลี่ยนอะไหล่หรือตรวจสภาพรถ เกิดจากการไม่มีการเก็บข้อมูลและข้อปฏิบัติที่ต้องให้พนักงานขับรถหรือผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสภาพรถก่อนการใช้งานทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารไม่ทราบถึงข้อมูล

ดังกล่าว จึงไม่มีการดำเนินการในการตรวจเช็คและซ่อมแซมรถขนส่งสินค้า

3) ปัจจัยด้านถนน/สภาพแวดล้อม พบว่าการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้าจะเกิดขึ้นในเส้นทางใหม่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม มีสาเหตุจากพนักงานขับรถไม่ทราบข้อมูลเส้นทาง และไม่มีการบอกข้อมูลเส้นทางแก่พนักงานขับรถ ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากการที่ผู้ประกอบการไม่มีข้อมูลเส้นทางเดินรถไม่มีระบบในการเก็บฐานข้อมูลเส้นทางการเดินรถ

มาตรการสาหรับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้า

มาตรการสำหรับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้า กรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภค แบ่งตามปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

  1. ปัจจัยด้านคน ได้แก่
  • จัดทำระบบตรวจสอบพนักงานขับรถ
  • หาพันธมิตรถขนส่งสินค้าในพื้นที่และร่วมพัฒนาระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน
  • จัดทำระบบตารางการส่งสินค้าแบบ realtime
  1. ปัจจัยด้านยานพาหนะ ได้แก่
  • กำหนดให้มีการตรวจและซ่อมบำรุงสภาพรถประจำปี
  • กำหนดให้มีการตรวจสอบสภาพรถก่อนการปฏิบัติงาน
  1. ปัจจัยด้านถนนและสภาพแวดล้อม ได้แก่ จัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลเส้นทางขนส่งสินค้า และมีการให้ข้อมูลเส้นทางการเดินรถ รวมถึงจุดเสี่ยงและจุดอันตรายต่างๆ ในการขนส่งสินค้าแก่พนักงานขนส่งสินค้าทุกครั้งเมื่อวิเคราะห์รากของการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้ากรณีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค พบว่า เกิดจากผู้ประกอบการไม่มีระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าที่ปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการเตรียมสินค้าก่อนการขนส่ง ซึ่งการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนจะต้องมีการระบบบริหารจัดการอันประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้ การบังคับใช้กฎหมาย การปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานและยานพาหนะที่ปลอดภัย และ การใช้ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานพบว่าปัจจัยด้านการจัดการองค์การมีความสัมพันธ์กับระดับความสมบูรณ์ของระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน การศึกษาวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบการบังคับใช้มาตรการด้านการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบว่า ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่มีการนำมาตรการด้านความปลอดภัยในการขนส่งมาใช้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านความเข็มงวดของการบังคับใช้มาตรการ โดยบริษัทขนาดใหญ่มีการบังคับใช้มาตรการที่มีความเคร่งครัดมากกว่าบริษัทขนาดเล็ก ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสภาพการทำงานและการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมขนส่งตามข้อกำหนดของ ระบบการจัดการความปลอดภัยการจราจรทางถนน ( ISO39001) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการจัดเตรียมเครื่องมือเพื่อช่วยองค์กรลดและกำจัดอัตราการเกิดและปัจจัยเสี่ยงของการตายและการบาดเจ็บสาหัสที่มีความสัมพันธ์กับการชนบนถนน มุ่งเน้นไปที่ผลจากการใช้ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพของระบบกาจราจรทางถนน โดยใช้กระบวนการ PDCAซึ่งเป็นวงจรที่รวมกันหลายขั้นตอน และต้องการความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

1) Plan – การบ่งชี้ผลกระทบขององค์กร ในส่วนนี้จะรวมถึงการสร้างข้อตกลงของแกนนำและจัดนโยบายระบบการทำงานที่เชื่อมโยงกับความปลอดภัยทางถนน

2) Do – ครอบคลุมถึงการประยุกต์ใช้ระบบซึ่งอาศัยการประสานงาน งบประมาณ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถเพียงพอ การเพิ่มความตระหนักโดยอาศัยการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก

3) Check – เป็นกระบวนการในการติดตามซึ่งควรมีการวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ และการประเมินประสิทธิภาพที่เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย

4) Act – เป็นการปรับปรุงระบบการจัดการอย่างต่อเนื่องจากที่กล่าวมาข้างต้น พบว่า การจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์รากของปัญหาเพื่อนำไปสู่การจัดทำมาตรการและระบบในการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร

สรุปผล

อุบัติเหตุทางถนนเกิดจากปัจจัยสำคัญ 4ปัจจัยคือ ปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้านยานพาหนะ ปัจจัยด้านสภาพถนน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และจากการศึกษาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของรถบรรทุกขนาดเล็กโดยการพิจารณาปัจจัยนำเข้าที่ทำให้เกิดผลของการเกิดอุบัติเหตุ (การชน การบาดเจ็บ และการตาย) ซึ่งได้แก่ ยานพาหนะและถนน (สภาพแวดล้อมจากการทำงานทางกายภาพภายนอก), รูปแบบและวัตถุประสงค์ในการใช้ยานพาหนะและหน้าที่ที่หลากหลาย(สภาพแวดล้อมด้านองค์กร) และสังคม กฎหมาย และนโยบายทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในการ

ทำงาน (ระดับประเทศ, ระดับสากล และสภาพแวดล้อมระดับสากล)การกำหนดมาตรการเพื่อนำไปสู่การป้องกัน

และลดผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทขององค์กร เกิดจากกระบวนการในการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงในการเกิดอุบัติเหตุขององค์กร เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย มาตรการ และระบบในการจัดการความปลอดภัยทางถนน และมีกระบวนการในการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นการติดตาม ตรวจสอบและประเมิน

ประสิทธิภาพของระบบ เพื่อให้มีการพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าที่ปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)