รถรับจ้างขนของ และการสำรวจและวางแผนการขนส่งสินค้า

รถรับจ้างขนของ และแนวทางการสำรวจข้อมูลเพื่อวางแผนการ ขนส่งสินค้า

รถรับจ้างขนของ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การวางแผนการ ขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนเพื่อประเมินและเลือกทางเลือกของการก่อสร้างเส้นทางหรือระบบขนส่งสินค้าเพื่อรองรับความต้องการใช้งานในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ผู้วางแผนจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการคาดการณ์ความต้องการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากดำเนินนโยบายหรือโครงการขนส่งสินค้าโดยทั่วไป ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษาเหล่านี้ประกอบด้วยข้อมูลประชากรและเศรษฐกิจลักษณะการเดินทาง และระบบขนส่งในพื้นที่ศึกษา ข้อมูลเหล่านี้มักถูกนำมาใช้เพื่อ

  • กำหนดขนาดของระบบขนส่งที่ต้องการเพิ่มเติมอันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอของระบบการขนส่งสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับคาดการณ์การใช้ที่ดินและการเดินทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • หาความสัมพันธ์ระหว่างประชากร การใช้ที่ดิน และการเดินทางในพื้นที่ศึกษา
  • สร้างแบบจำลองความต้องการเดินทางข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษาข้างต้น ขึ้นอยู่กับขอบเขตและลักษณะของโครงการ การดำเนินการวางแผนในช่วงที่ผ่านมา
รถรับจ้างขนของ กับการวางแผนรองรับล่วงหน้า
รถรับจ้างขนของ กับการวางแผนรองรับล่วงหน้า

รถรับจ้างขนของ และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ในการขนส่งสินค้าเพื่อเก็บข้อมูล

พื้นฐานสำคัญของการวางแผนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนระดับใดก็ตาม ฐานข้อมูลที่ดีและมีข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนอย่างครบถ้วน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยทั่วไปนักวางแผนการขนส่งนิยมแบ่งกลุ่มข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการเก็บรวบรวมและดำเนินการด้านฐานข้อมูลตามสถานที่ตั้งและลักษณะภูมิศาสตร์ของพื้นที่ และประเภทของระบบสาธารณูปโภคการขนส่ง ซึ่งการศึกษาเพื่อการวางแผนมักจะเริ่มต้นด้วยการลากเส้นกำหนดขอบเขตพื้นที่สำรวจข้อมูลหรือพื้นที่ศึกษา เส้นที่กำหนดขอบเขตของพื้นที่ศึกษาหรือล้อมรอบพื้นที่ศึกษานี้มีชื่อเรียกว่า เส้นขอบเขต สำหรับการศึกษาเพื่อวางแผนในเขตเมือง พื้นที่ศึกษานี้อาจครอบคลุมพื้นที่เมืองทั้งหมด นอกจากนี้เมื่อคำนึงถึงการขยายตัวของเมืองในอนาคต ผู้วางแผนควรรวมพื้นที่ชานเมืองที่อยู่รอบนอกเป็นพื้นที่ศึกษาด้วย สำหรับการศึกษาเพื่อวางแผนระดับชุมชน การกำหนดแนวขอบเขตของพื้นที่ศึกษาควรครอบคุลมพื้นที่ที่สนใจและเอื้อต่อการใช้แรงงานหรือจำนวนเที่ยวขนส่งให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการเก็บข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการศึกษาจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของพื้นที่ศึกษา ผู้วางแผนควรพิจารณาวัตถุประสงค์ของการสำรวจและข้อจำกัดที่มีอยู่ทั้งหมดมาพิจารณาในการกำหนดแนวเส้นขอบเขตที่เหมาะสม โดยทั่วไปแนวเส้นขอบเขตมักจะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับขอบเขตทางกายภาพของพื้นที่ อาทิ แนวสันเขา และแม่น้ำ เป็นต้น และแนวทางหลักของการสัญจร อาทิ ทางด่วน ทางลัด เป็นต้นเมื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พื้นที่ศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย อย่างไรก็ดี ไม่มีข้อแนะนำที่แน่ชัดสำหรับการกำหนดขนาดและหรือจำนวนของพื้นที่ย่อย มีพื้นที่ย่อยมากเกินไปการวิเคราะห์ก็ยิ่งซับมากขึ้นเท่านั้น ขณะที่ถ้ามีจำนวนพื้นที่ย่อยน้อยเกินไป ก็อาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงของการจัดกลุ่มตามจุดปลายของการเดินทาง และอาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงของเส้นทางการเดินทางในพื้นที่ด้วย ขนาดของพื้นที่ย่อยอาจพิจารณาได้จาก ขนาดของพื้นที่ศึกษา ความหนาแน่นประชากร รายการข้อมูลที่ต้องการ วัตถุประสงค์การศึกษา และเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่นำมาประยุกต์ใช้เงื่อนไขที่พิจารณาในการแบ่งพื้นที่ย่อยมีหลายประการ โดยทั่วไปพื้นที่ย่อยมักจะมีขนาดเล็กกว่าถ้าพื้นที่ศึกษาอยู่ในเขตเมืองที่มีความหนาแน่นมาก และจะมีขนาดใหญ่กว่าถ้าพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ชั้นนอกที่มีการกระจายตัวของประชากรสูง ในการสำรวจขนาดเล็กที่มีขอบเขตของพื้นที่ศึกษาไม่มากนัก พื้นที่ศึกษาอาจถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อยในจำนวนที่น้อยกว่าการสำรวจในพื้นที่เขตเมืองขนาดใหญ่ หลักเกณฑ์ง่ายๆ ที่อาจใช้เป็นแนวทางในการแบ่งพื้นที่ย่อยก็คือ เวลาที่ใช้ในการขับรถยนต์ข้ามผ่านพื้นที่ย่อยไม่ควรเกิน 3 ถึง 5 นาที อย่างไรก็ดี ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่ย่อยไว้ดังนี้

สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชากรในแต่ละพื้นที่ย่อย

  1. ควรมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
  2. ก่อให้เกิดการเดินทางภายในพื้นที่ย่อย น้อยที่สุด
  3. ในการแบ่งพื้นที่ย่อยควรคำนึงถึงขอบเขตอันเนื่องมาจากลักษณะทางกายภาพ การเมืองการปกครอง และประวัติศาสตร์ เป็นสำคัญ
  4. การแบ่งพื้นที่ควรก่อให้เกิดพื้นที่ย่อยที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการกำหนดพื้นที่ย่อยที่ตั้งอยู่ในขอบเขตของพื้นที่ย่อยอื่นๆ
  5. ควรแบ่งพื้นที่ย่อยให้มีจำนวนครัวเรือน ประชากร พื้นที่ หรือจำนวนการสร้างและดึงดูดให้เกิดการขนส่งสินค้า ที่ค่อนข้างสมดุลกันระหว่างพื้นที่ย่อย
  6. ควรแบ่งพื้นที่ย่อยโดยอ้างอิงกับการแบ่งพื้นที่ในการทำสัมมะโนประชากรจะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่ถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อยสำหรับการวิเคราะห์นั้นสามารถรวมเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม โดยอาจใช้แนวถนนเส้นหลักที่วิ่งผ่านพื้นที่เป็นตัวแบ่ง ข้อมูลที่เก็บจากพื้นที่ย่อยต่างๆ จะต้องนำมารวมเป็นข้อมูลระดับกลุ่ม ด้วยเช่นกันการแบ่งกลุ่มข้อมูลที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง คือ การนำลักษณะการใช้งานและประเภทของถนน มาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกกลุ่มข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้
  7. ถนนระหว่างเมือง เป็นถนนที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างสมบูรณ์วัตถุประสงค์หลักของถนนประเภทนี้คือเพื่อลำเลียงยวดยานเข้าสู่พื้นที่เมือง และเพื่อวิ่งผ่านเมือง
  8. ทางด่วน และทางพิเศษ เป็นถนนที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับถนนระหว่างเมือง แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนระหว่างเมือง มีวัตถุประสงค์การใช้งานคล้ายคลึงกับถนนระหว่างเมือง
  9. ถนนเส้นหลัก ได้แก่ ถนนและทางที่มีปริมาณการจราจรสัญจรมากส่วนมากเป็นถนนสายยาวที่ทอดผ่านเมือง และมุ่งสู่พื้นที่ศูนย์กลางกิจกรรมหลักของเมืองนั้นๆ
  10. ถนนเส้นรอง ได้แก่ ถนนและทางที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับระบบถนนเส้นหลักอาจทำหน้าที่เป็นทางเชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ และมีเส้นทางการให้บริการขนาดกลาง
  11. ถนนป้อนเข้า ซึ่งทำหน้าที่ป้อนการจราจรจากถนนท้องถิ่น ไปสู่ระบบถนนหลัก ถนนป้อนเข้านี้เป็นโครงข่ายหลักที่นำกระแสจราจรให้เข้าถึงชุมชน
  12. ถนนท้องถิ่น คือ ถนนที่ทอดผ่านชุมชนหรือหมู่บ้าน ทำหน้าที่เชื่อมกระแสจราจรจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนหรือหมู่บ้านโดยตรง การที่ผู้วางแผนจะเลือกใช้แนวทางใดในการกำหนดขอบเขตพื้นที่สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของโครงการ ลักษณะของข้อมูล งบประมาณในการดำเนินการกำลังคน และความละเอียดถูกต้องของข้อมูลที่ต้องการ การกำหนดขอบเขตพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของโครงการและทรัพยากรที่มีอยู่ จะช่วยให้ผู้วางแผนได้รับข้อมูลที่ดี มีความน่าเชื่อถือสูง และสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างมั่นใจเป็นผลตามมา

รถรับจ้างขนของ และการตรวจสอบข้อมูลเพื่อการวางแผนการขนส่งสินค้า

เมื่อขอบเขตและขนาดของการวางแผนรวมถึงขอบเขตของพื้นที่ศึกษาได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการทำงานก็คือ การกำหนดประเภทของข้อมูลที่ต้องการโดยทั่วไป ข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการวางแผนการขนส่งนั้น ได้แก่ ข้อมูลการใช้พื้นที่และประชากร ลักษณะของระบบขนส่ง และความต้องการเดินทางหรือขนส่งสินค้า ในการศึกษาและสำรวจข้อมูลภายในพื้นที่ศึกษาในสภาพปัจจุบัน ก็เพื่อให้ทราบถึง ปริมาณจราจร การใช้ที่ดิน จุดต้นทาง-ปลายทางของการเดินทาง) ข้อมูลประชากร การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา จากนั้นก่อนที่จะทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากการสำรวจภาคสนาม ผู้วางแผนควรตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วและทำการทดสอบข้อมูลเหล่านั้นว่าเพียงพอสำหรับการวางแผนหรือไม่ ข้อมูลระบบขนส่งสินค้าและถนนจากฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว จะถูกนำมาสรุปแยกตามพื้นที่ย่อยเพื่อใช้ในการวางแผนต่อไป

ข้อมูลการใช้พื้นที่และประชากร

ข้อมูลการใช้พื้นที่ประกอบด้วย ข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพื้นที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ซึ่งได้แก่ ลักษณะการใช้ที่ดิน และพื้นที่ว่างเปล่า โดยทั่วไปข้อมูลการใช้พื้นที่มักจะถูกนำไปใช้เพื่อ

  • เป็นพื้นฐานสำหรับประมาณค่าปัจจัยการเกิดการเดินทาง และทำนายการเกิดการเดินทาง
  • เป็นข้อมูลเชื่อมโยงระบบขนส่งกับการใช้งานอย่างอื่นในพื้นที่
  • เป็นฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยสำหรับการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจข้อมูลการเดินทางและการขนส่งสินค้า
  • เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับวางแผนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆมีข้อมูลที่หลากหลายในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการวางแผนการขนส่ง
  • แนวโน้มการพัฒนาของพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
  • ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะทางกายภาพของพื้นที่
  • ลักษณะการใช้พื้นที่ในปัจจุบัน
  • พื้นที่ว่างเปล่าที่ถูกจับจองแล้ว
  • ที่ตั้งของสถานที่ที่สร้างการเกิดการเดินทาง
  • ข้อมูลเฉพาะที่ระบุขอบเขตพื้นที่ย่อย อาทิ หมู่บ้าน ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ในชุมชน
  • การควบคุมการใช้พื้นที่ การแบ่งพื้นที่ตามประโยชน์การใช้พื้นที่ แผนที่ของหน่วยงานราชการ และกฏข้อบังคับต่างๆ ในพื้นที่
  • ข้อมูลเฉพาะที่ระบุพื้นที่ที่ต้องทำการปรับปรุงหรือจัดรูปพื้นที่ใหม่โดยมากแล้วหน่วยงานที่รับผิดชอบการวางแผน มักจะพยายามรักษาสภาพปัจจุบันของชุมชนหรือพื้นที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็น การใช้ประโยชน์พื้นที่ พื้นที่ว่างเปล่า และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ให้คงอยู่ตามเดิม การนำเทคโนโลยีระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ ทำให้การทำงานในส่วนนี้ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมากสำหรับข้อมูลประชากรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การกระจายตัวของประชากร ความหนาแน่นรายได้เฉลี่ย ประเภทของที่อยู่อาศัย และข้อมูลการถือครองยวดยาน จะถูกนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองการเดินทาง ประวัติของรูปแบบการกระจายตัว การอพยพย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่นและแนวโน้มการเติบโตของประชากร จะถูกนำมารวมเข้ากับข้อมูลปัจจุบันเพื่อใช้สำหรับทำนายลักษณะประชากรในอนาคต สำหรับการศึกษาเพื่อการวางแผนและโครงการขนาดเล็ก ข้อมูลเหล่านี้อาจนำมาจากการทบทวนการศึกษาที่เคยทำมาแล้วก่อนหน้านี้ก็ได้ โดยข้อมูลการทำนายลักษณะประชากรในพื้นที่อาจพบได้ในหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น สำหรับโครงการขนาดใหญ่ ผู้วางแผนอาจต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดมากขึ้น อาจจำต้องทำการสำรวจข้อมูลในพื้นที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีอยู่ หรือเพื่อเก็บข้อมูลใหม่โดยเฉพาะสำหรับโครงการนั้นก็ได้

รถรับจ้างขนของ กับการจัดการข้อมูลระบบขนส่งสินค้า

ข้อมูลระบบขนส่งทำให้ผู้วางแผนทราบโครงข่ายการขนส่งที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่การศึกษาและสำรวจข้อมูลในส่วนนี้ก็เพื่อตรวจสอบปริมาณการจราจรของ รถขนส่งสินค้า ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ข้อมูลระบบขนส่งนี้อาจหาได้จากฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วของหน่วยงานรัฐ ไม่ว่าเป็นเทศบาลจังหวัด หรือตามกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทั้งนี้ การสำรวจข้อมูลระบบขนส่ง เป็นกระบวนการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควรทีเดียว และข้อมูลบางประเภทอาจมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ก่อนการสำรวจหรือศึกษาพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ผู้วางแผนควรประเมินและตรวจสอบความต้องการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดเสียก่อน

  1. การตรวจสอบระบบรองรับการเดินทาง

การสำรวจระบบรองรับการเดินทาง ซึ่งส่วนมากจะหมายถึงถนนและทางหลวงประกอบด้วย การสำรวจสถานที่ตั้ง และคำอธิบายเส้นทางที่ใช้สำหรับการเดินทางแต่ละเส้นของระบบขนส่งในพื้นที่ศึกษา คำอธิบายในที่นี้ ได้แก่ ความสามารถในการรองรับความต้องการเดินทางในปัจจุบัน ปริมาณการใช้งานในปัจจุบัน และการบรรยายลักษณะของเส้นทาง การสำรวจ

ระบบรองรับการเดินทางนี้ ได้แก่

  • การจัดระดับและจำแนกประเภทของถนนและทางหลวง
  • ลักษณะทางเรขาคณิต อาทิ ความยาวของเส้นทาง ความกว้างช่องจราจร ความกว้างของเขตทาง สัญญาณไฟจราจรช่วงเวลาไฟเขียว จำนวนช่องจราจร การควบคุมการจอดรถ การควบคุมความเร็ว และลักษณะการใช้พื้นที่ของพื้นที่ซึ่งอยู่ติดกับเส้นทาง
  • เวลาที่ใช้ในการเดินทางเมื่อใช้ความเร็วได้อย่างอิสระตลอดทั้งโครงข่าย
  • ความสามารถสูงสุดในการรองรับความต้องการใช้เส้นทาง และระดับการให้บริการ การจัดระดับและจำแนกประเภทของถนนและทางหลวงในโครงข่ายที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการให้เสร็จเป็นอันดับแรก เกณฑ์ในการจัดประเภทถนนแบ่งออกเป็น 2แนวทาง ได้แก่ การจัดประเภทตามอำนาจหน้าที่ และการจัดประเภทตามลักษณะการใช้งาน การจัดประเภทตามอำนาจหน้าที่จะกำหนดผู้ที่เกี่ยวข้องและความรับผิดชอบไปยังแต่ละส่วนของระบบขนส่งทั้งหมด สำหรับการจัดประเภทตามลักษณะการใช้งานนั้น จะพิจารณาที่ระดับความสำคัญของการใช้เส้นทางและการเข้าถึงเส้นทางเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางอื่นๆ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก เช่น ถ้าใช้เกณฑ์นี้ในการจำแนก ทางด่วน ทางพิเศษ และถนนเส้นหลัก จะถูกจัดอยู่ในระบบถนนเส้นหลัก ขณะที่ถนนป้อนเข้า และถนนท้องถิ่น ถูกจัดอยู่ในระบบถนนชุมชน การจัดประเภทตามอำนาจหน้าที่จะขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของพื้นที่ศึกษา การจัดประเภทจะดำเนินการควบคู่ไปกับการตรวจสอบลักษณะทางเรขาคณิตของถนน ลักษณะทางเรขาคณิตของถนนที่จำเป็นสำหรับการวางแผน ได้แก่ ความยาวของเส้นทางความกว้างช่องจราจร ความกว้างของเขตทาง สัญญาณไฟจราจรรวมถึงการควบคุมการจราจรแบบอื่นๆ ระยะเวลาครบรอบของสัญญาณไฟจราจรและจังหวะการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร จำนวนช่องจราจร การควบคุมความเร็ว และลักษณะการใช้พื้นที่ของพื้นที่ซึ่งอยู่ติดกับเส้นทาง ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของการตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมการจราจรแล้วเช่นกัน สำหรับความเร็วและเวลาในการเดินทางนั้น อาจส่งผลต่อความจำเป็นในการเลือกว่าจะใช้ถนนเส้นใด หรือจะเลือกการเดินทางรูปแบบใด ความสามารถในการรองรับความต้องการใช้เส้นทางและระดับการให้บริการ สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้วิธีการที่แนะนำไว้ในคู่มือ ที่เป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อถืออาทิ และข้อมูลที่ต้องการสำหรับทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร ได้แก่ ลักษณะทางเรขาคณิต ข้อมูลช่วงเวลาของสัญญาณไฟจราจร ปริมาณจราจร ประเภทของการใช้พื้นที่ และลักษณะของผู้ขับขี่ยวดยาน
  1. ข้อมูลการจอดรถขนส่งสินค้า

การตรวจสอบการจอดรถประกอบด้วยข้อมูลหลักที่จำเป็น ได้แก่ สถานที่ตั้ง ความจุ กำหนดเวลาที่ให้จอดได้ และลักษณะอื่นๆ ของพื้นที่จอดรถไม่ว่าจะเป็นการจอดรถแบบชิดขอบถนน หรือการจอดรถในพื้นที่ที่จัดไว้ให้ ข้อมูลที่ต้องการประกอบด้วย

  • จำนวนช่องจอดรถ
  • กำหนดเวลาที่ให้จอดได้และเวลาทำการ
  • ข้อมูลผู้ให้บริการ อาทิ หน่วยงานราชการ หรือเอกชน เป็นต้น
  • อัตราค่าบริการ (ถ้าเก็บเงิน) และวิธีการที่ใช้เก็บเงินค่าบริการ
  • ประเภทของที่จอดรถ อาทิ เป็นการจอดริมถนน ช่องจอดรถ หรือเป็นโรงจอดรถ เป็นต้น
  1. ข้อมูลการเดินทางของรถขนส่งสินค้าและเที่ยวของการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางและเที่ยวของการเดินทางสามารถตรวจสอบได้จากการศึกษาจุดต้นทางปลายทาง การศึกษาดังกล่าวจะถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนและประเภทของการเดินทางที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา รวมถึงการเดินทางของยวดยานผู้โดยสาร และสินค้าจากพื้นที่ย่อยต่างๆ ที่เป็นจุดต้นทาง ไปยังพื้นที่ย่อยต่างๆ ที่เป็นจุดปลายทางโดยทั่วไป ข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่ สถานที่ที่เป็นจุดต้นทางและปลายทางของแต่ละเที่ยวการเดินทางวัตถุประสงค์การเดินทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ระยะทางที่ใช้ในการเดินทาง พาหนะ ที่ใช้ในการเดินทาง และลักษณะการใช้พื้นที่ของสถานที่ที่เป็นจุดต้นทางและจุดปลายทาง ข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทาง และรูปแบบของการเดินทางภายในพื้นที่ศึกษา โดยจำแนกตามช่วงเวลาของวัน พาหนะที่ใช้ในการเดินทางและวัตถุประสงค์ของการเดินทางในแต่ละเที่ยวผู้วางแผนอาจศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของกลุ่มเป้าหมายในช่วงวันทำงาน หรือช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ รวมถึงการเดินทางที่เกิดขึ้นสูงสุดในแต่ละช่วงฤดูกาลด้วย ความต้องการเดินทางที่วิเคราะห์ได้ในปีปัจจุบันจะถูกนำไปใช้สำหรับคาดการณ์ความต้องการเดินทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อตรวจสอบว่าโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น เพียงพอต่อความต้องการเดินทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ และเพื่อระบุความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพิ่มเติมหรือเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้ดีขึ้นรวมถึงเพื่อใช้ในการประเมินความแตกต่างของรูปแบบของอัตราการเติบโตของความต้องการเดินทางสำหรับข้อมูลจุดต้นทางปลายทางนั้น จะถูกนำไปใช้สำหรับวางแผนและแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบถนนหลัก การปรับปรุงถนน การกำหนดทำเลที่ตั้งของถนนตัดใหม่ การออกแบบและกำหนดทำเลที่ตั้งของทางด่วน การกำหนดทำเลที่ตั้งของทางแยกต่างระดับ การวางแผนโครงข่ายและพื้นที่ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และการกำหนดทำเลที่ตั้งของที่จอด รถขนส่งสินค้า เป็นต้น

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)