รถรับจ้าง กับข้อจำกัดของภาคการเกษตรในการขนส่งสินค้า

รถรับจ้าง กับการพัฒนาการขนส่งสินค้าภาคเกษตร

เมื่อพูดถึงเรื่อง  รถรับจ้าง ขนของหลายๆ คนมักคิดถึงเรื่องของการขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยทางถนน เพื่อช่วยให้ประหยัดค่าขนส่งสินค้า หรือไม่ก็จะคิดถึงการบริหารจัดการ สต๊อกสินค้า การสั่งซื้อ หรือศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัย มีระบบเทคโนโลยีสาร สนเทศที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ให้สูงขึ้น
แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า อันที่จริงแล้ว ปัญหาในภาคการเกษตร ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเร่งพัฒนาในเรื่องการขนส่งด้วยเช่นกัน มิหนำซ้ำระบบการขนส่งสินค้าต่างๆ ของภาคการเกษตรนี้ ไม่ว่าจะเป็นพืชผลทั้งจากไร่ จากสวน หรือจากแหล่งเพาะปลูก เพาะเลี้ยงใดๆ ล้วนแล้วแต่มีความยากในเชิงบริหารจัดการ และที่สำคัญขาดการนำวิทยา การด้านการโลจิสติกส์ไปใช้เป็นอย่างมาก ทำให้ต้นทุนและประสิทธิภาพด้านการขนส่งของภาคการเกษตรนี้ด้อย หรือต่ำลงไป กว่าภาคการผลิต หรือภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจโดยรวมของไทย
ผลที่ตามมา ก็คือ ผลผลิตทางการเกษตรมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพของผลผลิต ราคา หรือเวลาในการเก็บเกี่ยวต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดภายในและภายนอกประเทศ หรือตลาดส่งออกได้ ซึ่งผลเหล่านี้ นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ที่ไม่เพียงแต่เกษตรกรได้ราคาผลผลิตที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเท่านั้น แต่ภาครัฐยังต้องแบกรับภาระในการพยุงราคา หรือ ประกันราคา เสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการแก้ปัญหาแบบ “วัวพันหลัก” ไปวันๆ ซึ่งปัญหาหรือปัจจัยหลักโดยเฉพาะในประเด็นที่ทำให้การขนส่งสินค้าที่เป็นพืชผลทางการเกษตรมีความยุ่งยากกว่าสินค้าประเภทอื่นๆ ได้แก่

รถรับจ้าง ขนของช่วยขนส่งสินค้าเกษตรจากต้นทางไปยังปลายทาง
รถรับจ้าง ขนของช่วยขนส่งสินค้าเกษตรจากต้นทางไปยังปลายทาง

      1: ธรรมชาติของผลผลิตทางการเกษตรเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าว ผลไม้ พืชไร่ หรือสัตว์เศรษฐกิจ ส่วนมากจะเป็นผลผลิตที่ออกเป็นฤดูกาล ซึ่งทั้งหมดจะออกมาพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก เช่น มังคุด ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลองกอง หรือข้าว และมันสำปะหลัง ทำให้ ซัพพลายหรืออุปทานเกิดการล้นตลาด ขณะที่ตลาดที่มารองรับก็ไม่เพียงพอ การทำสัญญาเพาะปลูก และการตกลงราคาซื้อขายล่วงหน้าที่นิยมใช้ในต่าง ประเทศกับสินค้าประเภทนี้ก็ไม่ได้พัฒนาหรือใช้กัน ประกอบกับคลัง ไซโลปรับอากาศ หรือห้องเย็นควบคุมอุณหภูมิ ที่ใช้ในกระบวนการขนส่งสินค้าเพื่อถนอมให้ผลผลิตยังมีคุณภาพที่ดีหรือยืดอายุผลผลิต ก็ไม่มีการนำมาใช้ แต่ในส่วนน้อยซึ่งยังไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกษตรกรเมื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ตกอยู่ในภาวะจำยอมที่จะต้องขายผลผลิตออกไปยังตลาดหรือพ่อค้าคนกลางในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง หรือในกรณีที่ความต้องการของตลาดไม่มาก ไม่สามารถรับซื้อผลผลิตตามกลไกปกติของตลาดได้ ก็ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องเรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ มารับซื้อ หรือประกันราคาสำหรับสินค้าตัวนั้นๆ ในที่สุด
      2: ก็เนื่องจากธรรมชาติของผลผลิตทางการเกษตรด้วยเช่นกัน ที่สินค้าเกษตรเกือบทั้งหมดเป็นสินค้าที่เป็นของสด เน่าเสียได้ง่าย มีอายุการจัดเก็บได้สั้น ข้อจำกัดในข้อนี้ถือว่าเป็นข้อจำกัดทางกายภาพ ของตัวสินค้าเองที่จำเป็นต้องอาศัยหรือพึ่งพา การขนส่งสินค้าที่มีคุณภาพสูง เพราะไม่เพียงแต่ต้องควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมให้ได้ในแต่ละช่วงของการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และการกระจายผลผลิตแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขอนามัย หรือเรื่องของความสะอาดอีกด้วย ที่นับวันไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่เท่านั้น แต่สำหรับพืชผลทางการเกษตรที่ส่งออกด้วยแล้ว ถือว่าเป็นหัวใจในการส่งออกเลยทีเดียว เพราะประเทศต่างๆ ที่ประสงค์จะนำเข้าผลผลิตประเภทนี้ของไทย ล้วนแล้ว แต่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือได้ในเรื่องสุขอนามัยเป็นที่สุด
      3: สำหรับข้อจำกัด หรือปัญหาของพืชผลทางการเกษตร ข้อสุดท้ายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือกระจายสินค้าก็คงจะเป็นเรื่องความรู้ในด้านการขนส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพืชผลทางการเกษตร ที่ต้องยอมรับว่า ทั้งภาคการศึกษาด้านการเกษตรและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ที่จำกัดเป็นอย่างมากในเรื่องนี้ หลายๆ หน่วยงาน หรือนักวิชาการส่วนมากด้านการเกษตรยังเข้าใจว่าเรื่องการขนส่งสินค้าเกษตร เป็นเรื่องของ “Post Harvesting” หรือ เทคโนโลยีภายหลังการเก็บเกี่ยวที่ตนรู้อยู่แล้วเท่านั้น ซึ่งการเข้าใจอย่างคาดเคลื่อนและการไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงเรื่องโลจิสติกส์นี้ ทำให้การพัฒนาการขนส่งสินค้าสำหรับภาคเกษตรตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ถูกมองข้าม หรือเบี่ยงประเด็นไปสู่เรื่องการแก้ปัญหาในไร่ ในสวน ในฟาร์ม หรือแหล่งเพาะปลูก เช่นเดิม การจัดการในเรื่องอย่าง “Cool หรือ Cold Chain Management” ที่รู้จักกันดีในศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ จึงไม่ถูกนำไปใช้ หรือ ช่วยเหลือเกษตรกร และภาคการ เกษตร อย่างเป็นระบบ
ซึ่งในสภาวะปัจจุบัน หน้าจะถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะได้ศึกษา และแก้ปัญหาเงื่อนไขข้อจำกัด ดังที่กล่าวมานี้ ด้วยการจัดการการขนส่งของภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบและจริงจังเหมือนประเทศอื่นๆ ที่ได้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรของประเทศ เพื่อให้มีระบบการขนส่งที่ดีให้รองรับกับภาคการเกษตรของไทยในปัจจุบัน

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)