รถขนส่งสินค้า กับความสำคัญต่อการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์

รถขนส่งสินค้า ปัจจัยหลักของการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์

รถขนส่งสินค้า มีความสำคัญต่อการขนส่งสินค้า หรือสิ่งของ และกระบวนการของระบบโลจิสติกส์ ซึ่งหมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อลำเลียงสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือการลำเลียงจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยเฉพาะในทางทหารและอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งของและผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็ได้เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหารหมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิตรวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่ามากที่สุด
แต่ การขนส่งสินค้า และโลจิสติกส์ ในปัจจุบันหมายถึง ต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศ ซึ่งการผลิตสินค้าหรือการบริการต่างๆ ย่อมต้องมีการติดต่อ รถรับจ้างขนส่งสินค้า บริษัทขนส่งสินค้า เช่น ขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งของวัตถุดิบไปยังโรงงานที่ทำการผลิต และผ่านกระบวนการผลิตจนเป็นสินค้า จากนั้นต้องมีการขนส่งสินค้าโดย รถขนส่งสินค้า หรือ บริษัทขนส่งสินค้า สู่ตลาดหรือเพื่อกระจายให้ถึงผู้บริโภค

ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้า มิได้หมายถึงเฉพาะค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ แต่รวมถึงวิธีการบรรจุ หีบห่อ ขนถ่าย และป้อนเข้าโรงงาน หากทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเก็บสินค้าเป็นเวลานานๆ หรือจำนวนมากๆต้องประหยัด มีการสูญเสียน้อยนั่นยอมหมายถึงมีต้นทุนต่ำ ในการกระจายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคก็ต้องมีต้นทุนต่ำด้วย
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ จึงครอบคลุมหลายฝ่าย ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ วิธีการบรรจุ ขนถ่าย การขนส่งสินค้า กระบวนการส่ง-รับของ ผู้จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งต่าง ๆ ทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศุลกากร และโรงเก็บสินค้า เป็นต้น ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าจะต่ำได้ต่อเมื่อการขนถ่ายและนำส่งผลิตภัณฑ์ถึงจุดหมายโดยเร็ว สูญเสียน้อย สินค้าถึงมือผู้รับตามเวลาที่กำหนดโดยเร็ว ขั้นตอนกระบวนการศุลกากรทั้งนำเข้า-ส่งออก สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าเช่าโรงเก็บสินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์นานวัน ลดดอกเบี้ยของต้นทุนลงได้ด้วย

การติดต่อสื่อสาร เพื่อการสั่งซื้อทั้งวัตถุดิบจากต้นทางโดย รถรับจ้างขนส่งสินค้าหรือ บริษัทขนส่งสินค้า และสินค้าที่จะต้องขนส่งไปยังโรงงาน รวมถึงสินค้าที่จะต้องกระจายไปยังตลาดหรือผู้บริโภคโดยตรงต้องสะดวกรวดเร็วและชัดเจน รวมถึงการจัดทำระบบการถ่ายทอดส่งข้อมูลสารสนเทศ หรือ ด้านไอที ต้องมีเครือข่ายที่ดี ให้ครอบคลุมโดยที่ต้องเชื่อมต่อทั้งในประเทศและกับต่างประเทศอย่างทั่วถึง และเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ตั้งแต่แหล่งวัสดุที่ใช้ผลิต โรงงานผลิต กรมศุลกากรจน ถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภคและมีมาตรฐานที่เป็นสากลเพื่อมิให้มีการผิดพลาดเกิดขึ้น ไม่สูญเสีย ทั้งด้านสินค้าและเวลายังสามารถ สามารถประหยัดต้นทุนสินค้าได้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกที่กำลังรณรงค์กันอยู่

รถรับจ้างขนส่งสินค้า จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในระบบโลจิสติกส์และการพัฒนาประเทศ การพัฒนาสมรรถนะของ รถรับจ้างขนของ ให้สามารถใช้พลังงานต่อเที่ยวให้น้อยลง หรือการบริหารจัดการเที่ยวของการขนส่งให้เกิดขึ้นอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน เพื่อลดต้นทุนโดยรวมของการขนส่งสินค้า หรือระบบโลจิสติกส์ ซึ่งจะทำให้ส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจต่างๆลดลง ทำให้เป็นกลไกสำคัญอีกส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย

รถขนส่งสินค้า รถรับจ้าง ส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ
รถขนส่งสินค้า รถรับจ้าง เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในระบบโลจิสติกส์และการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาการบริหารจัดการเที่ยวการขนส่งสินค้าให้เกิดขึ้นอย่างคุ้มค่า

รถขนส่งสินค้า หมายถึง รถที่ใช้บรรทุกสิ่งของ มีหลายแบบ หลายขนาด ซึ่งปรกติมีขนาดใหญ่ กำลังมาก และสัณฐานมาก โดยเฉพาะบรรดาที่ใช้เพื่อการค้า การขนส่งสินค้า ทั้งอาจประกอบด้วยอุปกรณ์พิเศษด้วย เช่น รถประจญเพลิง และรถโม่คอนกรีต ปัจจุบัน รถบรรทุกส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่ใช้ แกโซลีนหรือดีเซล เพื่อช่วบในการขับเคลื่อนรถพร้อมสินค้า

รถบรรทุกผลิตครั้งแรกเมื่อปี 1890 ผลิตขึ้นโดยGottlieb Daimler โครงสร้างหลักเป็นเหล็ก ล้อทำด้วยไม้ มีขนากเครื่องยนต์ 1.06ลิตร เป็นเครื่องยนต์แบบ 2สูบ ขับเคลื่อนด้วยสายพาน และติดตั้งระบบระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำ ตั้งแต่นั้นมา การพัฒนารถบรรทุกก็เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบัน

ลักษณะรถบรรทุก

  1. รถกระบะบรรทุกพื้นเรียบ
  2. รถกระบรรทุกท้ายลาด
  3. รถกระบะบรรทุกมีข้างเสริม
  4. รถกระบะบรรทุกมีเครื่องทุ่นแรง
  5. รถกระบะบรรทุกยกเทได้
  6. รถตู้บรรทุก
  7. รถบรรทุกของเหลว
  8. รถบรรทุกวัสดุอันตราย

น้ำหนักของการบรรทุก ของรถบรรทุก ชนิดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

  1. รถกระบะ 4ล้อ น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 2ตัน รวมน้ำหนักรถไม่เกิน 3.5ตัน
  2. รถกระบะ บรรทุก 4ล้อใหญ่ น้ำหลักบรรทุกไม่เกิน 5ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 9.5ตัน
  3. รถบรรทุก 6ล้อ ขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 7ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 15ตัน
  4. รถบรรทุก 6ล้อ ขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 10ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 15ตัน
  5. รถบรรทุก 10ล้อ ขนาดใหญ่ น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 25ตัน
  6. รถบรรทุก 10ล้อ พ่วง 18ล้อ น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 25ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 50.5ตัน
  7. รถบรรทุก 10ล้อ พ่วง 22ล้อ น้ำหนักบรรทุกได้ไม่เกิน 28ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 53ตัน
  8. รถบรรทุกเทรลเลอร์ พ่วง 18ล้อ น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 25ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 45 ตัน
  9. รถบรรทุกเทรลเลอร์ พ่วง 22ล้อ น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 30ตัน รวมน้ำหนักรถ ต้องไม่เกิน 50.5ตัน
Social Share Buttons and Icons powered by Ultimatelysocial
error

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)