รถรับจ้างขนส่งสินค้า และแนวทางการปรับตัวเมื่อเปิดเสรีการขนส่งสินค้า
รถรับจ้างขนส่งสินค้า เมื่อมีการเปิดเสรีการขนส่งผู้ประกอบการขนส่งสินค้าไทยไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่มีความจำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ แนวทางการปรับตัวมีดังนี้
1.การรวมกลุ่มผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการขนส่งของไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย และประกอบธุรกิจในลักษณะกระจัดกระจาย มีการแข่งขันกันเองอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาการวิ่งรถเปล่า และสินค้าตกค้างตามมา การรวมกลุ่มหรือสร้างเครือข่ายการให้บริการขนส่งในลักษณะพันธมิตรโดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นจุดแข็งของแต่ละบริษัทมาเสริมกันเพื่อให้เกิดเอกภาพและสามารถลดต้นทุนได้ และการรวมตัวนี้จะทำให้มีอำนาจในการต่อรองกับภาคอุตสาหกรรม หรือขอความช่วยเหลือจากภาครัฐได้มากขึ้น
2.การพัฒนารูปแบบการให้บริการ ผู้ประกอบการควรพิจารณาปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของระบบโลจิสติกส์มากขึ้น เช่น บริการคลังสินค้า บริการด้านศุลกากร บริการบรรจุภัณฑ์สินค้า รวมถึงการบริการเชื่อมต่อรูปแบบการขนส่งต่อเนื่อง เช่น ทางเรือ ทางอากาศ
3.การร่วมทุนกับผู้ประกอบการต่างชาติ ผู้ประกอบการอาจพิจารณาร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเพื่อรักษาตลาดลูกค้าไว้ภายใต้การบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น หรืออาจพิจารณาเป็น ผู้รับเหมาช่วง ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี สามารถบริหารต้นทุนคงที่ได้ต่ำกว่า และมีศักยภาพรักษาตลาดลูกค้าขนาดใหญ่ข้ามชาติได้ดีกว่า
รถขนส่งสินค้า และการพัฒนาความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
ผู้ประกอบการ รถรับจ้างขนส่งสินค้า ที่ดีจะต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนการขนส่งได้ มีการประยุกต์นาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ สามารถตอบสนองความต้องการและความหลากหลายของลูกค้า รวมทั้งควรมีการรวมกลุ่มของ บริษัทขนส่งสินค้า ทางบกบนโครงข่ายเดียวกัน สำหรับการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ ซึ่งการรวมกลุ่ม ของบริษัทขนส่งสินค้า ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลรุ่นที่ 2 ที่มีฐานการดำเนินการมาตั้งแต่รุ่นที่ 1 โดยผู้บริหารรุ่นใหม่มีการศึกษาที่สูง และมีสินทรัพย์จากรุ่นที่ 1 สร้างขึ้นมาซึ่งปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จมีดังนี้
- ต้นทุนต่ำสาหรับการขยายงาน เครือข่าย รถขนส่งสินค้า
- การร่วมมือในการทำงานในเครือข่าย
- ความมีมาตรฐานในการให้บริการเดียวกัน ควรเป็นรูปแบบเดียวกัน
- การไหลของสินค้า ต้องสามารถขนส่งสินค้าได้รวดเร็วไม่ติดขัด
- การไหลของเงิน ต้องไม่สะดุดจนทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก
- การไหลของข้อมูล ต้องไม่ติดขัดเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์แนวทางในการประกอบธุรกิจที่อาจต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
- การวัดผลหรือประเมินผล ของการร่วมมือกันทำงาน
- ความไว้ใจซึ่งกันและกันจะทำให้ธุรกิจราบรื่น
การรวมกลุ่มขนส่งสินค้าทางบกบนโครงข่ายเดียวกัน สำหรับการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ความไว้ใจซึ่งกันและกันสำคัญที่สุด และจะมีขึ้นได้ต้องประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ความสามารถและองค์ความรู้รวมถึงความสัมพันธ์อันยาวนาน ซึ่งจุดประสงค์ของความร่วมมือ จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ กำไรที่เป็นตัวเงิน และกำไรที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งหมายถึงพันธมิตรทางธุรกิจ ที่สามารถช่วยกันขับเคลื่อนธุรกิจไปด้วยกัน
รถขนส่งสินค้า และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่องต่อข้อมูลระหว่างองค์กร เทคโนโลยีด้านการติดตามรถบรรทุกสินค้า เทคโนโลยีการบริหารงานภายในองค์กร เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสามารถช่วยให้การขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดและต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจและเพิ่มผลกำไรให้แก่องค์กร
รถขนส่งสินค้าและระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า TMS
ระบบบริหารการขนส่ง เป็นโปรแกรมสำหรับผู้ให้บริการขนส่ง ในการบริหารจัดการการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และเพิ่มคุณภาพการบริการ เนื่องจากการไหลของข้อมูลระหว่างผู้ส่งสินค้า ผู้รับสินค้า และผู้ให้บริการขนส่ง เกิดขึ้นอย่างโปร่งใส และทันเวลา ระบบ TMSสามารถทำงานเชื่อมโยงกับระบบ GPSเพื่อติดตามสถานะของการขนส่งสินค้า และวางแผนการขนส่งได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังมีระบบการเงินและการวิเคราะห์เพื่อหาทางลดต้นทุนในการขนส่ง เพราะว่าเป้าหมายในการบริหารงานขนส่งคือ ความรวดเร็ว และต้นทุน ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งจะคำนึงถึงเรื่องต้นทุนเป็นเรื่องหลัก เช่น เดียวกันกับผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ โดยที่การทำงานของ TMSสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทางระบบ Internet ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
1.เส้นทางการวิ่งรถบรรทุกเช่น แผนที่ GPS จุดจอดพักรถ ทางอันตราย การจราจร
2.กองรถบรรทุกเช่น ขนาด ประเภท อัตราการใช้ เชื้อเพลิง ระยะทางวิ่งที่เหมาะสมสำหรับรถแต่ละคันแต่ละประเภท
3.พนักงานขับรถ เช่น ประเภทใบขับขี่เส้นทางที่ชำนาญ ช่วงเวลาที่ทำงานได้อัตราค่าจ้าง
4.ข้อจำกัดด้านกฎหมาย เช่น ระเบียบราชการสาหรับสินค้า /รถบางประเภท เส้นทาง บางเส้นทางการขับรถให้ตรงประเภทใบขับขี่
5.จุดหลักและสถานที่แวะรับและส่งสินค้า เช่น โรงงานลูกค้า ศูนย์กระจายสินค้า ของลูกค้า ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ด่านศุลกากรตามชายแดน
6.ระบบการรับคำสั่งจากลูกค้า เช่น ประเภทสินค้า จำนวน ต้นทาง-ปลายทาง เวลานัดหมาย
ซึ่งการใช้ระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าอัจฉริยะนี้จะช่วยให้ การดำเนินกิจกรรมรับสินค้า คัดเลือกสินค้าและจ่ายสินค้าโดยไม่เก็บสินค้าคงคลัง และสามารถใช้โครงข่ายการขนส่งโดยสินค้าที่จะทำการขนส่งจะถูกคัดแยกและรวบรวมเข้ากันที่ศูนย์กระจายสินค้าและส่งไปยังศูนย์การขนส่ง ที่อยู่แต่ละภูมิภาคได้ทั่วถึง และยังเป็นการจัดการใช้ประโยชน์จากยวดยานมากที่สุดด้วยลดการวิ่งเที่ยวเปล่า โดยที่ระบบ TMS จะจัดเส้นทางเดินรถเพื่อลดการวิ่งเที่ยวเปล่า โดยให้รถขนส่งรับสินค้าต่อแล้ววิ่งไปส่งอีกจุดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องประสานงานหลายแหล่งไปศูนย์กลาง
รถรับจ้างขนส่งสินค้า และการบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยี TMS
โครงสร้างต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่ง ประกอบด้วยต้นทุนดังต่อไปนี้
ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนขนส่งหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆตามการผลิต ไม่ว่าจะทำการผลิตหรือไม่ผลิตก็ตาม ต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนที่คงที่ ต้นทุนนี้ถึงแม้จะมีการผลิตเป็นจำนวนมากหรือจำนวนน้อยเพียงใด ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในอัตราเท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา เช่น ค่าเช่า, ที่ดิน, อาคาร, ค่าประกันภัย, ค่าทะเบียนยานพาหนะ, ค่าเสื่อมราคา, เงินเดือนประจำ , ค่าใบอนุญาตเช่าสถานที่
ต้นทุนผันแปร เป็นต้นทุนขนส่งหรือค่าใช้จ่ายที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ปริมาณของการผลิต อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้อีก คือต้นทุนดำเนินงาน ถ้าให้บริการขนส่งมากต้นทุนชนิดนี้ก็มากด้วย ถ้าผลิตบริการขนส่งน้อยต้นทุนนี้ก็น้อย ถ้าไม่ได้ให้บริการเลยก็ไม่ต้องจ่ายต้นทุนนี้เลย ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเป็นต้น
ต้นทุนรวม เป็นต้นทุนขนส่งหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยรวมเอา ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรมารวมกัน ถือเป็นต้นทุนของการบริการทั้งหมด ในการขนส่งถือว่าเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้า โดยไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าต้นทุนของการขนส่งสินค้าหรือบริการ เช่น การขนส่งทางรถไฟ โดยรถขบวนหนึ่งอาจมีทั้งผู้โดยสาร สินค้าและบริการอยู่ในขบวนเดียวกัน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะเป็นต้นทุนร่วมกัน เพราะไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าเป็นต้นทุนในการขนส่งผู้โดยสาร หรือเป็นต้นทุนสำหรับการขนส่งสินค้าและบริการ