รถขนส่งสินค้า รถรับจ้าง กับการยกระดับความร่วมมือของไทยและเวียดนาม(ทางเรารับขนส่ง เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น)

รถขนส่งสินค้า และ รถรับจ้าง บนเส้นทาง R1 ความร่วมมือสู่โอกาสการค้าของไทยไปเวียดนาม(ทางเรารับขนส่ง เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น)

รถขนส่งสินค้า รับจ้างกับอนาคตของธุรกิจ บริษัทขนส่งสินค้า และ รถรับจ้าง ขนของต่างๆบนเส้นทาง R1 หลังจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งประกอบด้วยไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาวและเมียนมาได้ให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วม สำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ โดยสาระสำคัญในการประชุมคือการร่วมกันปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถระหว่างประเทศและการเพิ่มโควต้าใบอนุญาต รถขนส่งสินค้า และรถโดยสารไม่ประจำทางระหว่างประเทศชั่วคราวในเส้นทางผ่านด่านต่างๆที่อยู่ในกรอบความตกลง GMS CBTA เป็น 500 คัน ซึ่งเส้นทางที่ได้รับอานิสงส์มากที่สุดคงเป็นเส้นทาง R1 (กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-พนมเปญ-บาเวท-นครโฮจิมินห์) เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีความร่วมมือและจำนวนโควต้ารถขนส่งสินค้าที่ได้รับอนุญาตโดยไทยและกัมพูชาน้อยมาก เพียง 40 คัน

การขนส่งสินค้า บนเส้นทาง R1 ซึ่งเส้นทางนี้นับเป็นเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ที่สำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าของไทยเป็นอย่างมาก กล่าวคือเส้นทาง R1 เป็นเส้นทางส่งออกสินค้าหลักของไทยไปยังกัมพูชา และมีศักยภาพที่ สามารถเชื่อมต่อไปยังเวียดนามโดยเฉพาะเวียดนามตอนใต้เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯและนครโฮจิมินห์ ใกล้ที่สุดเพียง 903 กม.สะท้อนจากในปี 2558 ที่เริ่มมีการเปิดใช้สะพานเนี๊ยกเลือง (Neak Loeung) ขึ้นในเส้นทาง R1 เพื่อทดแทนการใช้เรือขนส่งข้ามฟากที่ใช้เวลานานและมีความแออัดทำให้มูลค่าการส่งออกผ่านทางชายแดนของไทยไปเวียดนามปี2558 ในด่านอรัญประเทศขยายตัวถึงร้อยละ 110.6 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกผ่านแดนทั้งสิ้น 990.9 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวไปเวียดนามนั้นยังไม่ได้รับความนิยมเมื่อ เทียบกับเส้นทางอื่นๆ โดยมีอุปสรรคสำคัญในเรื่องจำนวนโควต้ารถขนส่งระหว่างไทย-กัมพูชาที่ได้รับอนุญาตเพียง 40 คัน โดยเฉพาะพิธีการทางศุลกากรที่ล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งกัมพูชา ประกอบกับการใช้ด่านศุลกากร รถขนส่งสินค้าและรถโดยสาร ได้ทำให้เกิดความแออัดบริเวณด่านอรัญประเทศซึ่งแปรผันตรงต่อระยะเวลาและ ต้นทุนการขนส่งจากไทย ผ่านด่านอรัญประเทศไปเวียดนาม จึงเป็นผลให้การส่งออกไปยังเวียดนามตอนใต้นิยมใช้บริการของ เรือขนส่งสินค้ามากกว่า แม้จะใช้เวลานานแต่ขั้นตอนการขนส่งและพิธีการทางศุลกากรนั้นค่อนข้างสะดวกและไม่หยุมหยิมเกินไป

รถขนส่งสินค้า รับจ้าง บนเส้นทางR1 กับโอกาสในการเปิดตลาดเวียดนาม
รถขนส่งสินค้า รถรับจ้าง บนเส้นทางR1 กับโอกาสในการเปิดตลาดเวียดนาม

ทว่าการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลง CBTA ที่ครบทุกฉบับของประเทศสมาชิก GMS นี้คงจะทำให้เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบและพิธีการทางศุลกากรในเส้นทางR1มากขึ้นเช่น การพัฒนา พื้นที่ตรวจสอบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน (Single Stop Inspection: SSI) และการเพิ่มโควต้าใบอนุญาต เป็น 500 คัน เป็นต้น นอกจากนี้ การเร่งเจรจา ทวิภาคีด้านการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างไทย-กัมพูชา ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตรวจสินค้าและการก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่บ้านหนองเอี่ยนเพื่อแยกด่านรถโดยสารและ รถขนส่งสินค้า ออกจากกัน ็คงจะช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดในบริเวณด่านอรัญประเทศ ซึ่งจะทำให้ การขนส่งสินค้าจากไทยไปเวียดนามโดยผ่านกัมพูชาในเส้นทางR1สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเมินว่า ระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากไทยไปเวียดนามบนเส้นทาง R1 จะลดลงประ 8-10 ชั่วโมงทำให้จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 31-41 ชั่วโมง ก็จะเหลือเพียง 23-31ชั่วโมง ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งสินค้า ก็จะถูกลงเกือบร้อยละ 30-35 จากต้นทุนเดิมทั้งหมดอีกด้วย

อย่างไรก็ดี แม้การดำเนินงานข้างต้นจะช่วยลดปัญหาการเดินรถระหว่างไทย-กัมพูชาบนเส้นทาง R1จะทำให้การขนส่งต่อไปยังเวียดนามมีความสะดวกมากขึ้นแต่การขนส่งจากไทยไปยังนครโฮจิมินห์ของเวียดนาม บนเส้นทาง R1 ก็ยังคงมีอุปสรรคในบางประการ กล่าวคือ ปัจจุบันรถขนส่งของไทยไม่สามารถเข้าไปยังเวียดนาม โดยตรง เนื่องจากไทยยังไม่มีข้อตกลง 3 ฝ่ายกับกัมพูชาและเวียดนามสำหรับการเดินรถบนเส้นทาง R1ประกอบ กับกฎระเบียบการเดินรถภายในประเทศเวียดนามที่ยังไม่อนุญาตให้รถขนส่งพวงมาลัยขวาของไทยเข้าประเทศ นอกจากนี้ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถที่แตกต่างกันของไทย กัมพูชาและเวียดนาม เช่น น้ำหนักรถ บรรทุก และมาตรฐานความเร็วของรถบรรทุกก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การขนส่งบนเส้นทางR1 นั้นยังมีข้อจำกัดดังนั้นหาก ไทยมีข้อตกลงการเดินรถขนส่ง 3 ฝ่ายกับกัมพูชาและเวียดนามในเส้นทาง R1 อีกยังมีความร่วมมือในกำหนด มาตรฐานการเดินรถที่เหมือนกันของทั้ง3ประเทศ คงจะทำให้การเดินรถระหว่างไทยผ่านกัมพูชา เข้าไปยัง เวียดนาม สมบูรณ์มากขึ้น ทว่า การให้สัตยาบันของประเทศสมาชิก รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกในการตรวจสินค้าของทางการไทย รวมไปถึงการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทย-กัมพูชานี้ ก็ถือเป็น สัญญาณที่ดีสำหรับการขนส่งสินค้าบนเส้นทาง R1 ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศในลำดับต่อไป

เส้นทาง R1 เป็นหนึ่งในเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)ที่มีความน่าสนใจในมิติด้านการค้าจากไทยไปยังเวียดนามเป็นอย่างมาก เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวนี้ได้เชื่อมเมืองสําคัญอย่างกรุงเทพฯและนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและยังมีการกระจายตัวของฐานการผลิตเพื่อการส่งออกในบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกันตอกย้ําโอกาสสําหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกไปยังเวียดนามผ่านเส้นทาง R1 โดยสินค้าส่งออกสามารถแบ่ง 2 ประเภท ดังนี้

1. สินค้าที่เดิมมีการส่งออกผ่านแดนไปเวียดนามบนเส้นทาง R1 อยู่แล้ว และหากเส้นทางดังกล่าวได้รับการพัฒนาก็คงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการ
ส่งออกที่มากขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ อนินทรีย์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ กล่าวคือ เวียดนามตอนใต้ โดยเฉพาะบริเวณราบลุ่มแม่น้ําโขง
(MekongRiver Delta) เป็นพื้นที่ที่มีการทําเกษตรกรรมเพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ ประกอบกับเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ก็เป็นสารตั้งต้นสําหรับการผลิตปุ๋ยและยาฆ่าแมลงดังนั้น การยกระดับเส้นทาง R1 นี้คงจะช่วยเพิ่มโอกาสสําหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ผ่านเส้นทาง R1 ไปเวียดนามตอนใต้เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคการเกษตรเวียดนามจากการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากรGSP และการทยอยลดภาษีนําเข้าตามกรอบการค้าเสรีที่เวียดนามได้ทํากับนานาประเทศเช่น เกาหลีใต้และสหภาพยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามตอนใต้ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 33.3 ล้านคน ประกอบกับการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์และสังคมเมืองในบริเวณดังกล่าว ก็คงจะเป็นโอกาสที่ดีในการเจาะตลาดเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผ่านเส้นทาง R1 เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี สําหรับผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า แม้จะเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยไปเวียดนามผ่านเส้นทางดังกล่าว แต่การที่เวียดนามมีทั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําและกําลังก่อสร้างฐานการผลิตเหล็กขนาดใหญ่ที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติก็อาจทําให้ผู้ส่งออกเหล็กของไทยไปยังเวียดนามได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญในอนาคต

2.สินค้าที่ปัจจุบันยังส่งออกผ่านทางเรือเป็นหลัก  แต่หากเส้นทาง  R1 ได้รับการพัฒนา ก็คงจะเป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่ดีหรับการขนส่งสินค้าไปยังเวียดนามซึ่งสินค้าข้างต้นนี้ ได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องดื่มและผลไม้ ตลอดจนชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่วนใหญ่เป็นอะไหล่ทดแทนเนื่องด้วยลักษณะเฉพาะตัวของการขนส่งทางถนนที่มีความรวดเร็วและสามารถให้บริการแบบถึงมือผู้รับ(DoortoDoor Service) จะช่วย ลดต้นทุนในการเก็บรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น ภาพรวมแล้ว การขนส่งทางถนนจึงถือว่ามีความคุ้มค่ามากกว่าการขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยา ต้นทุนในการเก็บรักษาและมีมูลค่าสูง อีกทั้งในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 เครื่องดื่มและชิ้นส่วน มีการส่งออกผ่านด่านอรัญประเทศบนเส้นทาง R1 ไปยังเวียดนามมากขึ้นสำหรับผลไม้ทั้งนี้แม้จะยังไม่มีการ ส่งออกผ่านด่านอรัญประเทศไปเวียดนาม เนื่องจากการส่งออกผลไม้ของไทยไปเวียดนามส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นการส่งออกผ่านแดนบริเวณด่านนครพนมและด่านมุกดาหาร เพื่อส่งออกต่อไปยังเวียดนามตอนกลาง เหนือและจีนตอนใต้เป็นหลัก แต่หากเส้นทาง R1 ได้รับการพัฒนา ก็คงเป็นโอกาสที่ดีในการส่งออกผ่านเวียดนามตอนใต้ผ่านเส้นทางดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากผลไม้เป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในความสดใหม่เป็นหลัก

โดยสรุป

การเร่งปรับปรุงเส้นทางขนส่ง R1 และผลักดันการขนส่งสินค้า บนเส้นทางดังกล่าวด้วยการเพิ่มจํานวน รถขนส่งสินค้า ที่ได้รับอนุญาตและปรับปรุงพิธีการทางศุลกากร ตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่กําลังจะเกิดขึ้นในปี 2560 คงเป็นโอกาสที่ดีสําหรับผู้ประกอบการไทยในการใช้เส้นทางR1 เพื่อเจาะตลาดเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามตอนใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่ตั้งของเมืองสําคัญทางเศรษฐกิจอย่างนครโฮจิมินห์ และยังเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ที่กําลังเติบโตจากการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากร GSP และสิทธิพิเศษทางภาษีอื่นๆ จากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามได้ทํากับนานาประเทศ จึงประเมินว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยผ่านด่านอรัญประเทศบนเส้นทาง R1 ไปยังเวียดนามในปี 2560 คงเติบโตร้อยละ 19.4 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ดี การขนส่งผ่านเส้นทาง R1 ไปยังเวียดนามในปัจจุบันนั้น ยังมี อุปสรรคในบางส่วนที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่ง ดังนั้นการเลือกใช้ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่สามารถจัดการต้นทุนการขนส่งทั้งขาไปและขากลับที่ดี จึงเป็นสิ่งสําคัญในการดําเนินธุรกิจ อีกทั้งการหาพันธมิตรทางการค้าที่ดีและมีศักยภาพในการกระจายสินค้าในฝั่งเวียดนาม ก็จะช่วยส่งเสริมให้การค้าของไทยไปยังเวียดนามนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

*ทางเรารับขนส่งสินค้าภายในประเทศเท่านั้น เนื่อหาของบทความที่นำเสนอ เพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจจะทำการขนส่งระหว่างประเทศเท่านั้น

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)