รถรับจ้างขนของ และการปรับตัวของธุรกิจรับจ้างขนส่งสินค้า

รถรับจ้างขนของ และแนวโน้มของธุรกิจ รับจ้างขนส่งสินค้า

รถรับจ้างขนของ ในระยะเวลาถัดจากนี้ไปคาดว่าธุรกิจการ ขนส่งสินค้า ทางถนนจะมีแนวโน้มที่ไม่ดีเท่าที่ควร ด้วยปัจจัยเสี่ยงทางด้านการค้าระหว่างประเทศจาก เศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว การบริโภค และการลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อีกทั้งการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นจากการขยายตัวของจำนวนผู้ประกอบการ แต่ด้วยกระแสการลงทุนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเติบโตของการค้าชายแดนและผ่านแดน ที่ยังคงเป็นแรงหนุนหลักให้ธุรกิจ ขยายตัวไปได้ ประกอบกับความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ การเบิกจ่าย งบประมาณของภาครัฐ การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงราคาเชื้อเพลิงที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจยังเติบโตได้

รถรับจ้างขนของ ของไทย เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆถือ ว่าเป็นธุรกิจมีศักยภาพสูงเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากข้อได้เปรียบด้าน ภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค การมีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังประเทศคู่ค้าที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อาทิ มาเลเซีย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม และจีนตอนใต้ รวมถึงการขยายคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า ไปในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้า โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งสินค้า ทางถนนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศ ทั้งหมดสามารถเติบโตได้ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาคขนส่งสินค้าทาง ถนนในช่วงครึ่งปี แรกมีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ2ปีก่อน แต่ชะลอลงจากปีก่อน ผลจากการบริโภคของภาคเอกชน และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่ก็ยังพอเติบโตได้จากการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางถนนอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มขึ้นของเส้นทางเชื่อมโยงในภูมิภาค และจุดผ่านแดนต่างๆ รวมถึงต้นทุนขนส่งสินค้าที่ปรับลดลง

สถานการณ์ความต้องการขนส่งสินค้า

ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนในปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างมาก จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งปัญหาของภาคการส่งออก การบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ธุรกิจยังมีแรงบวกเล็กน้อยจาก การค้าชายแดน ในหลายเดือนที่ผ่านมาที่โดยรวมแล้วยังเติบโตได้ที่ร้อยละ 3  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า

จากการเติบโตของการค้าชายแดนกับผ่านแดน รวมถึงโอกาสจาก การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้กลายเป็นแรงดึงดูดให้มีผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งสินค้า ทางถนนเข้าใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกิจการที่มีขนาดเล็ก จำนวนรถ เฉลี่ยต่อรายไม่มาก และใช้รถที่มีลักษณะขนส่งสินค้าได้หลากหลายอย่าง รถกระบะบรรทุก รถกึ่งพ่วง และรถลากจูง ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจมีการแข่งขันที่ยิ่งทวีความเข้มข้น ผลจาก รายได้ที่ลดลงตามความต้องการขนส่งซึ่งรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สะท้อนจากดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนในไตรมาส 3 ที่ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังอาศัยแรงหนุน ได้จากราคาน้ำมันที่ลดลงต่ำ กว่าค่าบริการซึ่งช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายได้

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ

แนวโน้มธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนในระยะปีถัดไป คาดว่าจะ ทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากการเติบโตภาคการค้า ทั้งการค้าชายแดน และการค้าการลงทุนจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อาทิการเบิกจ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม รวมถึงต้นทุนน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นผู้ประกอบการที่ใช้ NGV และ LPG เริ่มมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากการแข่งขันที่เข้มข้น ขึ้นตามจำนวนผู้ประกอบการ โดยในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา มีนิติบุคคลรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7ต่อปี  โดยในปีที่แล้วมีทั้งสิ้น 2,500 บริษัท ประกอบกับบริษัทข้ามชาติที่เล็งเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนหลังการเปิดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาทิ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจาก ข้อจำกัดด้านกฎหมายระหว่างประเทศ พิธีการศุลกากร และกฎเกณฑ์การขนส่งของแต่ละประเทศที่ผู้ประกอบการต้องคอยติดตามและวางแผนงานในการปรับปรุงธุรกิจต่อไป

รถรับจ้างขนของ กับการปรับตัว
รถรับจ้างขนของ กับการปรับตัวของธุรกิจ ขนส่งสินค้า

รถรับจ้างขนของ และการวางแผนการขนส่งสินค้า

รถรับจ้างขนของ ยังจำเป็นต้องมีกระบวนการที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งของการขนส่งสินค้าคือ การวางแผนการขนส่ง โดยทั่วไปแล้วการวางแผนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญในการดำเนินกิจการทุกด้านที่มีความเสี่ยงในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต ธุรกิจ กิจการทหาร ฯลฯ การวางแผนที่ดีและรอบคอบ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทุกๆ ด้าน สามารถลดความเสี่ยงในการดำเนินกิจการที่กำลังจะปฏิบัติลงได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าปราศจากการวางแผนเลย กิจการที่กำลังจะดำเนินการนั้น อาจประสบความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ทั้งนี้เพราะเราไม่ได้จัดเตรียมความพร้อมที่จะรองรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างที่กำลังดำเนินกิจการนั้นๆ ดังที่มีผู้กล่าวว่า ในการทำสิ่งใดก็ตาม ถ้ามีการวางแผนเป็นอย่างดีแล้ว ผลลัพธ์ของการปฏิบัติอาจเป็นไปได้สองแนวทาง นั่นคือเสมอตัว และประสบความสำเร็จ แต่ถ้าไม่ได้มีการวางแผนเลย ผลลัพธ์ของการปฏิบัติจะเป็นได้ทางเดียว นั่นคือพบกับความล้มเหลว ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหลักการสำคัญของการวางแผนก็คือ การเลือกและพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อนำผลการวิเคราะห์นั้นมาทำนายสถานการณ์ในอนาคตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่กำลังพิจารณาอยู่นั่นเองจากที่กล่าวข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า การวางแผนคือ การดำเนินการหรือกระบวนการที่ใช้ประเมินแนวโน้มของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแนะแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายที่กำหนดไว้ ประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการวางแผนคือ การคาดการณ์สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การดำเนินการเพื่อวางแผนมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่การนำแผนนั้นไปปฏิบัติมักเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าการวางแผนจะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคต แต่ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าเมื่อถึงเวลาที่นำแผนนั้นไปปฏิบัติจริง ผลที่ได้และเวลาช่วงเวลาดำเนินการจะตรงตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่การขนส่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในวงกว้าง การที่จะทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนรับผิดชอบจะต้องทำการวางแผนและคาดการณ์สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งส่งผลกระทบต่อการขนส่งให้ใกล้เคียงความเป็ นจริงมากที่สุด โดยทั่วไป การวางแผนการขนส่งสินค้า  คือ กระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งในอนาคต ซึ่งมักจะมุ่งเน้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการการขนส่งในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้พื้นที่ เศรษฐกิจ และการขนส่ง ทางเลือกสำหรับดำเนินการระบบขนส่ง ผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากระบบขนส่ง และการลงทุนและการบริหารองค์กรเพื่อดำเนินการตามแผนการขนส่ง เป็นต้น

กระบวนการวางแผนการขนส่ง

ในทางปฏิบัติ โดยมากการวางแผนการขนส่งมักถูกกำหนดให้เป็นกระบวนการที่ใช้หลักการของเหตุและผล นั่นคือ ในการแก้ไขปัญหาด้านขนส่งนั้น จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนและมีเหตุผลรองรับ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การกำหนดเป้าหมาย  คือ การให้คำนิยามเกี่ยวกับเป้าหมายของระบบขนส่ง โดยมากการกำหนดนี้จะคำนึงถึงคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนเป็นพื้นฐาน ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้วางแผนจะเป็นผู้กำหนด การกำหนดเป้าหมายมักถูกแสดงในลักษณะของคำพูดกว้างๆ ของสิ่งที่ต้องการบรรลุ พร้อมด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่สอดรับกับเป้ าหมายของโครงการที่ชี้เฉพาะมากขึ้น

การระบุความจำเป็นของการดำเนินการ  คือ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบขนส่งที่มีอยู่กับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่กำหนดจากขั้นตอนแรก ถ้าเปรียบเทียบแล้วพบว่าประสิทธิภาพของระบบขนส่งที่มีอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานก็สมควรที่จะต้องทำการปรับปรุงระบบดังกล่าวให้ดีขึ้น

การพัฒนาวิธีการสำหรับแต่ละทางเลือกการดำเนินการ เพื่อตอบสนองตรงตามความต้องการของความจำเป็นที่ระบุไว้ในข้อที่ 2

การประเมินวิธีการสำหรับแต่ละทางเลือกการดำเนินการ โดยจะทำการประเมินความเป็นไปได้ของแต่ละทางเลือกเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพเศรษฐศาสตร์ และการเงินการลงทุน เงินลงทุน ความต้องการใช้ระบบขนส่ง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

กระบวนการตัดสินใจ หลังจากทำการประเมินแต่ละทางเลือกของการดำเนินการแล้ว ทางเลือกใดมีความเหมาะสมมากที่สุดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จะถูกคัดเลือกให้นำไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนต่อไป

 

ในธุรกิจ ขนส่งสินค้า กระบวนการวางแผนตามหลักการของเหตุและผลจะเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองอยู่2 ขั้นตอน นั่นคือการกำหนดเป้าหมายและกระบวนการตัดสินใจ การกำหนดเป้าหมายมักจะถูกกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของนักการเมือง และกระบวนการตัดสินใจมักจะถูกมองว่ามีลักษณะเป็นกระบวนการทางการเมือง โดยความรับผิดชอบหลักของนักการเมืองในจุดนี้ก็คือทำการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลทางเทคนิคและข้อเท็จจริงที่ได้จากการวิเคราะห์โดยผู้วางแผน หน่วยงานวางแผนการขนส่งมักจะต้องทำการศึกษาปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในการวางแผนการขนส่งอยู่เสมอ การศึกษาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นงานหลักที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีวิชาชีพด้านการขนส่งโดยตรงของกองวางแผนการขนส่งของเมือง อาทิ สำนักการจราจรและขนส่งและสำนักการโยธาของกรุงเทพมหานครเป็นต้น หน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่มีส่วนรับผิดชอบในการวางแผนด้านการขนส่ง อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น และบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการขนส่ง เป็นหน่วยงานเอกชนที่มีหน้าที่วางแผนและแก้ปัญหาด้านการขนส่งโดยตรง ซึ่งโดยมากแล้ว จะเกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อการวางแผนในประเด็นดังต่อไปนี้

การศึกษาการขนส่งระหว่างช่วง การขนส่งระหว่างช่วงเป็นองค์ประกอบของพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างจุดปลายทางสองจุด การศึกษาลักษณะนี้มักจะเป็นการเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติหรือดำเนินการด้านขนส่งในพื้นที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทางเลือกในการกำหนดแนวทางหลวงซึ่งวิ่งระหว่างพื้นที่ ทางเลือกของระบบขนส่งสาธารณะที่ให้บริการระหว่างพื้นที่ และทางเลือกของรูปแบบการขนส่งระหว่างพื้นที่ เป็นต้น

การศึกษาพื้นที่ย่อย เป็นการศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกับการศึกษาการขนส่งระหว่างช่วงแต่มีขอบเขตที่เล็กกว่าโดยจะมุ่งเน้นไปที่จุดใดจุดหนึ่งในพื้นที่ อาทิการศึกษาพื้นที่จอดรถ หรือการหมุนเวียนของกระแสจราจรในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชน การศึกษาการจัดการระบบการขนส่งในชุมชน และการศึกษาทางเลือกของระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบต่างๆในพื้นที่ย่อยของเมืองหลวง เป็นต้น

การวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อการลงทุนด้านการขนส่งขนาดใหญ่ เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบสำหรับการกำหนดที่ตั้งและเลือกระบบที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบราง หรือทางด่วนภายในเขตเมืองขนาดใหญ่ เป็นต้น

การศึกษาหลักสูตรการขนส่ง เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกสำหรับการจัดหลักสูตรการศึกษาด้านการขนส่งในสถาบันการศึกษา ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษามักอยู่ในรูปของการอนุมัติเพื่อรับรองหลักสูตรด้านการขนส่งที่จะเปิดสอนในสถาบันการศึกษา

การศึกษาด้านการเงิน เป็นการศึกษาทางเลือกด้านการเงินของโครงการขนส่ง โดยจะมุ่งพิจารณาความจำเป็นทางการเงินและศักยภาพในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ผลการศึกษามักอยู่ในรูปของการยืนยันถึงความเป็นไปได้ด้านการเงินในการลงทุน หรือการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านการเงินขององค์กร

การศึกษาผลกระทบ เป็นการศึกษาในลักษณะก่อนและหลังเพื่อศึกษาผลกระทบของการลงทุนด้านการขนส่งขนาดใหญ่ที่มีต่อการพัฒนาที่ดินโดยรอบโครงการ หรือพฤติกรรมการเดินทางของคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปนอกจากนี้ การวางแผนยังอาจแบ่งออกเป็นประเภทตามช่วงเวลา ได้แก่ การวางแผนระยะสั้น การวางแผนระยะกลาง และการวางแผนระยะยาว

 

การวางแผนระยะสั้น หรือการวางแผนโครงการ คือ การวางแผนที่มุ่งเน้นไปที่โครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ภายในระยะเวลา 1 ถึง 3ปี โดยทั่วไป กระบวนการของการวางแผนระยะสั้น ได้แก่ การติดตามและตรวจสอบระบบ (การเก็บรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพของระบบ) ระบุความไม่เพียงพอของระบบที่มีอยู่ กำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์ สร้างข้อกำหนดสำหรับชี้วัดประสิทธิภาพของระบบการประเมินกลยุทธ์ และจัดลำดับกลยุทธ์ทั้งหมดโดยใช้หลักการความเหมาะสมระหว่างเงินลงทุนและประสิทธิภาพของระบบ ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้รับจากการวางแผนระยะสั้น ได้แก่ รายชื่อโครงการที่ได้รับการสนับสนุน หรือข้อเสนอของวิธีการที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการระบบขนส่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างของการวางแผนระยะสั้น ได้แก่

  • การวางแผนเพื่อกลุ่มเป้าหมายย่อย อาทิ เด็กนักเรียน คนชรา คนพิการ เป็นต้น
  • อิทธิพลที่มีต่อกันระหว่างการขนส่งและการใช้ที่ดิน อาทิ การศึกษาการเดินทางที่เกิดขึ้น ณ ศูนย์การค้า ผลกระทบด้านการขนส่งอันเนื่องมาจากโครงการต่างๆเป็นต้น
  • การศึกษาการขนถ่ายสินค้า
  • โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย
  • การวางแผนออกแบบทางจักรยาน
  • การวางแผนการใช้พลังงาน
  • การศึกษาผลกระทบ

ซึ่งการวางแผนการขนส่งในเมืองหลวงจะต้องรวมเนื้อหาของการจัดการระบบขนส่ง ไว้ในแผนการขนส่งระยะสั้นของเมืองด้วย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรด้านการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางสำหรับการบริหารจัดการการขนส่งคนและสินค้าในเขตเมือง

การวางแผนระยะกลาง เป็นการวางแผนที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับ การจัดการระบบขนส่ง การวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศ และการศึกษาการขนส่งระหว่างช่วง โดยทั่วไปแล้วอาจดูเหมือนว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผนระยะกลางจะมีขอบเขตการศึกษาที่กว้างและมีช่วงเวลาที่ผู้วางแผนต้องพิจารณาล่วงหน้าสำหรับการนำแผนไปปฏิบัติที่นานกว่าแผนระยะสั้น แต่จะมีขอบเขตการศึกษาที่เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษมากกว่าแผนระยะยาว

แผนระยะยาว เป็นการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งที่จำเป็นสำหรับเมือง รวมถึงโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวกับการขนส่งที่สอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมนั้น โดยมีช่วงเวลาที่ผู้วางแผนต้องคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 20 ปี เป็นแผนที่ต้องคำนึงถึงเงินลงทุนในระยะยาวเนื่องจากต้องคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน ในการวางแผนระยะยาวจำเป็นต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากกว่ากรณีของการวางแผนระยะสั้นในการคาดการณ์ความต้องการใช้ระบบขนส่งในอนาคต

ถ้าหากเว็บของเรามีประโยชน์? โปรดช่วยกันบอกต่อ :)